Page 243 - InsuranceHandbook
P. 243
224 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
ผู้เอาประกันภัยเป็นบริษัทรับจ้างทำความสะอาด ได้ส่งพนักงานของบริษัทเข้าไปทำความสะอาดภายในสำนักงาน
แห่งหนึ่ง แล้วทำแจกันที่ตั้งอยู่บนตู้โชว์ตกลงมาแตก หรือเช็ดพื้นจนเปียกลื่น แต่ไม่ได้ตั้งป้ายเตือนให้ระวัง จนเป็น
เหตุให้ผู้ที่เดินเข้ามาติดต่องานในสำนักงานแห่งนั้นลื่นล้มขาหัก เป็นต้น
3. ความคุ้มครองความรับผิดที่เกิดจากการใช้เครื่องจักรกล (Plant Extension Cover) เช่น การ
ใช้รถยก (Forklift) เครน เครื่องชักรอก ปั้นจั่น หรือเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในการยก ซึ่งมีการระบุไว้ในตาราง
กรมธรรม์ประกันภัย แต่ไม่รับประกันภัยเครื่องจักร
หากลักษณะธุรกิจของผู้เอาประกันภัย มีทั้งที่ทำอยู่ในสถานที่ประกอบการ และนอกสถานท ่ ี
ประกอบการด้วย เช่น เป็นร้านอาหารซึ่งมีทั้งแบบที่ให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารภายในร้าน และบริการรับจัดเลี้ยง
นอกสถานที่ด้วย ควรจะระบุว่าต้องการซื้อความคุ้มครองตามขอบเขตของการเสี่ยงภัยทั้ง ข้อ 1 และข้อ 2 เพื่อจะ
ได้รับความคุ้มครองที่ครบถ้วน
ส่วนอาณาเขตความคุ้มครองนั้นก็ขึ้นอยู่ขอบเขตการทำงานของผู้เอาประกันภัย หากทำงานอยู่เฉพาะ
ในสถานที่ประกอบการของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น อาณาเขตความคุ้มครองก็คือสถานที่ประกอบการของ
ผู้เอาประกันภัย แต่ถ้าพนักงานของผู้เอาประกันภัยจะต้องเดินทางไปทำงานทั่วประเทศไทย ก็ควรจะระบุอาณาเขต
ความคุ้มครอง คือ ทั่วประเทศ เป็นต้น
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น ร้านค้าทั่วไป ร้านอาหาร สำนักงาน
โรงแรม ศูนย์การค้า ธุรกิจรับจ้างทำความสะอาดสถานที่ เป็นต้น
4.3.2 การประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน (Workers’ Compensation Insurance หรือ
Workmen’s Compensation Insurance)
เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างในระหว่างการจ้าง
งาน สำหรับกรณีการบาดเจ็บทางร่างกายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยรวมถึงการเสียชีวิตเนื่องจากการ
ทำงาน
การประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน ให้ความคุ้มครองและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอา
ประกันภัยตามจำนวนทเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่าทดแทนแรงงานตามที่ระบุในกฎหมายแรงงานสำหรับลูกจ้างท ่ ี
่
ี
ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง
การประกันภัยนี้เหมาะกับบริษัท หรือผู้ประกอบการทั่วไป
4.3.3 การประกันภัยความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง (Employer’s Liability Insurance)
การประกันภัยความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง จะให้ความคุ้มครองนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รบ
ั
บาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิต เนื่องจากการทำงานให้กับนายจ้าง และลูกจ้างสามารถพิสูจน์ได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมา
จากความประมาทเลินเล่อของนายจ้าง ลูกจ้างเหล่านั้นอาจเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน หรือเคยทำงาน
ให้แก่นายจ้างรายนั้น แต่มีอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งมสาเหตุเกิดจากงานที่เคยทำให้นายจ้างรายนน
ั
ี
้
ลูกจ้างเหล่านั้นอาจเรียกร้อง ฟ้องร้อง เรียกค่าชดใช้ความเสียหาย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย เนื่องจาก
่
การบาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิตจากนายจ้าง หรือเรียกร้องเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่นายจ้างเคยชดใช้ไปกอนแล้ว
การประกันภัยความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง จะคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของนายจ้างตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย
ุ
โดยอุบัติเหต หรือเป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานตามทางการที่จ้างของนายจ้าง อันเกิดจากความ
ประมาทเลินเล่อ ละเลยการดูแลเอาใจใส่สภาพความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามสมควรของนายจ้าง เช่น
้
ํ
ั
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
์
ิ
ั
ิ