Page 29 - InsuranceJournal106
P. 29
ู
รอบร้ประกันภัย
ตัวอย่างที่ 2 ในปีภาษี 2552 นาย ข. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น
1,000,000 บาท
การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,000,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 800,000 บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ 170,000 บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) 150,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี 20,000 บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10) 2,000 บาท
วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,000,000 บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน 5,000 บาท
ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ข. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 จำนวน 2,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 ในปีภาษี 2552 นาย ค. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี
2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,100,000 บาท
การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,100,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 880,000 บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ 190,000 บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) 150,000 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี 40,000 บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ10) 4,000 บาท
วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่าพันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน 1,100,000 บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน 5,500 บาท
ในปีภาษี 2552 นาย ค. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จำนวน 5,500 บาท
8. การกรอกรายการในใบแนบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91
ปีภาษี 2552 ในใบแนบดังกล่าวได้เพิ่ม ส่วน ง เงินได้ที่ได้รับยกเว้น
กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ ให้ผู้มีเงินได้ระบุเงินได้ที่ได้รับยกเว้น เพื่อเป็นฐานในการ
เหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวม คำนวณการซื้อหน่วยลงทุน เช่น เงินได้ฯ ที่ข้าราชการได้รับ
คำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ ตามโครงการเกษียณก่อนกำหนด
ที่มา: www.rd.go.th (เว็บไซต์กรมสรรพากร)
วารสารประกันภัย 27
มกราคม - มีนาคม 2553