Page 215 - InsuranceHandbook
P. 215
196 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
2.2 การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
์
เป็นการเอาประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต หรือผู้ขับขี่
์
รถยนต ไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ
หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก
2.2.1 ประเภทรถยนต์ที่สามารถเอาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประเภทรถยนต์ที่สามารถเอาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจำแนกออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
่
้
1) ประเภทรถยนต์นั่ง หมายถึง รถยนต์ที่นั่งไดไม่เกิน 7 คน รวมทั้งคนขับ ได้แก รถเก๋ง รถตรวจการ
หรือรถแวน รถจี๊ปช่วงสั้น รถสามล้อเครื่อง รถนั่งสองตอนท้ายบรรทุก
2) ประเภทรถยนต์โดยสาร หมายถึง รถยนต์ที่ใช้โดยสาร ได้แก่ รถตู้โดยสาร รถปิคอัพ หรือรถ
โดยสารที่นั่งสองแถว รถเมล์โดยสาร
์
3) ประเภทรถยนตบรรทุก หมายถึง รถยนต์ที่ใช้เพื่อการบรรทุกและขนส่งสินค้าชนิดต่าง ๆ ได้แก ่
ชนิดเก๋งทึบบรรทุก (แวน) ชนิดกระบะไม้หรือเหล็ก และมีหรือไม่มีหลังคา (ปิคอัพ หรือทรัค)
4) ประเภทรถยนต์ลากจูง หมายถึง รถยนต์ที่ไม่มีกระบะสำหรับการบรรทุก และใช้ในการลากจูง
5) ประเภทรถพ่วง หมายถึง รถที่ไม่มีเครื่องยนต์ และใช้ในการบรรทุกคู่กับรถยนต์ลากจูง หรือใช้
ในการบรรทุกคู่กับรถยนต์บรรทุก
6) ประเภทรถจักรยานยนต์ หมายถึง รถสองล้อที่มีเครื่องยนต์ มีหรือไม่มีรถพ่วงก็ได้
7) ประเภทรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ หมายถึง รถยนต์นั่งได้ไม่เกิน 7 คนรวมทั้งคนขับ ซึ่งจดทะเบียน
เป็นรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ ได้แก่ รถแท็กซี่ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถสามล้อแท็กซ ี่
8) ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด หมายถึง รถยนต์ที่ไม่จัดอยู่ใน 7 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ได้แก ่
รถยนต์ป้ายแดง รถพยาบาล รถดับเพลิง รถใช้ในการเกษตร รถใช้ในการก่อสร้าง รถอื่น ๆ
2.2.2 ประเภทความคุ้มครองของการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ความคุ้มครองสำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจมาตรฐานสำหรับรถยนต์ทั่วไปแบ่งเป็น 5
ประเภท และสำหรับรถยนต์สมรรถนะสูงอีก 1 ประเภท ดังนี้
1) การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 (Comprehensive) ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และ
มากที่สุด เมื่อเทียบกับการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น ๆ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
1.1) ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party
Bodily Injury: TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บ หรือมรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อ
ความบาดเจ็บ หรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยเป็นจำนวนเงินจำกัดความรับผิดส่วนเกินจาก
ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2) ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property
Damage: TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3) ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) หมายถึง ความคุ้มครอง
ความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย รวมถึงอุปกรณ์และส่วนควบ เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการชน ถูก
ิ
ราดน้ำมันเบรก ถูกกลั่นแกล้ง ถูกน้ำท่วม เกิดจากภัยธรรมชาติ เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายจากการเติมน้ำมันผด
เป็นต้น แต่ไม่รวมถงความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ที่ได้รับความยนยอม
ิ
ึ
จากผู้เอาประกันภัย
1.4) ความคุ้มครองความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) หมายถึง
ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยที่ถูกไฟไหม้ และการสูญหาย รวมถึงความเสียหาย
้
ํ
ั
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
์
ิ
ั
ิ