Page 237 - InsuranceHandbook
P. 237
218 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
2) ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความ
ึ
เสียหาย สำหรับการบาดเจบ การเสียชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สนอันเกิดจากปายไฟนีออน ป้ายโฆษณา ซง
็
่
้
ิ
ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย และอุบัติเหตุดังกล่าวต้องเกิดจากภัยที่กรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครอง
การประกันภัยนี้เหมาะกับเจ้าของป้าย และ/หรือ เจ้าของโครงป้ายไฟนีออน ป้ายโฆษณา
4.1.10 การประกันภัยกระจก (Plate Glass Insurance)
ในปัจจุบันอาคาร ห้างร้าน หรือสถานที่แสดงสินค้าสมัยใหม่ นิยมหันมาใช้ผนังกระจกเป็นส่วนใหญ่
เช่น กระจกสำหรับอาคารสูงสามารถสะท้อนความร้อน กระจกมีสีสันภายในตัว กระจกหลอมรูปแบบพิเศษ หรือ
กระจกกั้นห้อง เพื่อความสวยงามและประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลาย
กระจกที่ติดตั้งไว้อาจแตกร้าวโดยอุบัติเหตุจากความประมาทเลินเล่อ การเฉี่ยวชนจากยานพาหนะ
การเจตนากลั่นแกล้งโดยบุคคลภายนอก เช่น การยิงปืนเข้าไปในอาคาร การทุบกระจกเข้าไป ลักทรัพย ชิงทรัพย ์
์
์
ปล้นทรัพยภายในอาคาร เป็นต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุอาจมีค่าเสียหายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน
และติดตั้งกระจกภายนอกอาคารบนชั้นสูง ๆ
การประกันภัยกระจกคุ้มครองกรณีเกิดการแตก หรือเสียหายต่อตัวกระจกที่ติดตั้งถาวร และเป็นส่วน
หนึ่งของตัวอาคารอันเกิดจากสาเหตุใด ๆ ที่มิได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหา
สิ่งจำเป็นและสมควรติดในขณะที่รอการเปลี่ยนกระจกใหม่ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและติดตั้งกระจกใหม่
ี
ในกรณีที่มีกระจกซึ่งมสิ่งตกแต่ง หรือตัวอักษรบนกระจก เช่น กระจกสี (Stained Glass) ที่มงาน
ี
ศิลปะซึ่งมักจะพบในโบสถ์คริสต์ กระจกที่มียี่ห้อและชื่อของบริษัท ห้าง ร้าน เป็นต้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องระบ ุ
ิ
ี
รายละเอียดและกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยให้เพียงพอ มิฉะนั้นบริษัทประกันภัยจะสันนษฐานว่ากระจกท
่
เอาประกันภัยนั้นเป็นกระจกแผ่นเรียบขัดมันปกติ
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับเจ้าของอาคาร สถานที่ที่ตกแต่งหรือกั้นผนังด้วยกระจก
4.1.11 การประกันภัยร้านทอง (Gold Shop Insurance)
สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานมากขึ้น ประกอบกับราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มที่คนร้ายจะพยายามปล้นร้านทองมากขึ้น
การประกันภัยร้านทองเป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเจ้าของร้านทอง ใน
กรณีที่ร้านทองถูกคนร้ายชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ โดยมีความคุ้มครอง ดังนี้
ั
1) ความคุ้มครองต่อทองคำที่มีไว้เพื่อจำหน่ายอนเกิดจากการชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ การ
วิ่งราวทรัพย์ ภายในสถานที่เอาประกันภัย
2) ความคุ้มครองตัวอาคาร ตู้นิรภัย กระจก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตู้แสดงสินค้าทองคำ เครื่องชั่ง และโทรทัศน์วงจรปิด อันเกิดจากการ
ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ภายในสถานที่เอาประกันภัย
3) ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยผลประโยชน์การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ
สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงของเจ้าของร้าน บุคคลในครอบครัว ลูกจ้าง และ/หรือพนักงานรักษา
ความปลอดภัย อันเกิดจากการชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ การวิ่งราวทรัพย์ ภายในสถานที่เอาประกันภัย
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบกิจการร้านทอง
ิ
์
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
้
ํ
ั
ั
ิ