Page 232 - InsuranceHandbook
P. 232
บทที่ 18 ประเภทของการประกันวินาศภัย 213
6) การลักทรัพย์ที่ไม่ปรากฏร่องรอยการงัดแงะ (ไม่รวมถึงสตอก) (Theft without actual
็
forcible and violent entry excluding Stocks)
ั
่
7) การลักทรัพย์ที่ไม่ปรากฏรองรอยการงดแงะ (Theft without actual forcible and violent entry)
8) กระจกติดตั้งตรึงตรา (Fixed Glass)
9) ความเสียหายสำหรับเงิน (Money)
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
ค่อนข้างสูง เช่น ศูนย์การค้า ศูนย์การประชุมและจัดแสดงนิทรรศการ โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล
เป็นต้น
4.1.2 การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (เนื่องจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย
ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน) [Business Interruption Insurance (due to Insured Perils under Accidental
Damage (Property) Insurance Policy)]
เป็นอีกกรมธรรม์ประกันภัยหนึ่งที่สามารถทำคู่กับกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เมื่อเกิด
ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินจะชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ ส่วนการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะคุ้มครอง
ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นสถานประกอบธุรกิจ สำหรับความเสียหายจากการหยุดชะงักของธุรกิจอันเป็นผลสบ
ื
ี
เนื่องมาจากการที่สิ่งปลูกสร้างใด ๆ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยใช้เพื่อประกอบธุรกิจ ณ สถานท
่
เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย และได้รับความคุ้มครองภายใตกรมธรรม์ประกันภัยความเส่ยงภัยทรัพย์สิน และ
ี
้
มิได้มีการระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และเป็นผลให้ธุรกิจที่ดำเนินอยู่
โดยผู้เอาประกันภัย ณ สถานที่เอาประกันภัยหยุดชะงักลงหรือได้รับผลกระทบ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายการที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย
การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (เนื่องจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัย
ทรัพย์สิน) มีข้อกำหนดความคุ้มครองเฉพาะ (Specification) ให้ผู้เอาประกันภัยเลือกได้ 5 แบบคือ
แบบ 1 สำหรับการประกันภัยกำไรขั้นต้น (แบบหลักเกณฑ์ผลต่าง) (Gross Profit on Difference
Basis) ใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีการผลิตสินค้า ตลอดจนธุรกิจที่ซื้อสินค้าและขายออกไป
ั
แบบ 2 สำหรับการประกนภัยกำไรขั้นต้น (แบบหลักเกณฑ์ผลบวก) (Gross Profit on Addition
Basis) ใช้สำหรับธุรกิจที่ให้บริการ เช่น สำนักงานขนาดใหญ่
แบบ 3 สำหรับการประกันภัยค่าใช้จ่ายคงที่ (Standing Charges หรือ Fixed Costs) ใช้สำหรับธุรกิจ
ที่ต้องการเอาประกันภัยเฉพาะค่าใช้จ่ายคงที่เท่านั้น โดยเฉพาะธุรกิจซึ่งมีผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี
ั
แบบ 4 สำหรับการประกนภัยรายรับจากค่าเช่า (Rental Income) ใช้สำหรับธุรกิจซึ่งมีรายได้จากการ
ให้บริการเช่าสถานที่ ซึ่งธุรกิจเป็นเจ้าของเอง
แบบ 5 สำหรับการประกันภัยรายได้ขั้นต้น (Gross Revenue) ใช้สำหรับธุรกิจซึ่งมีรายได้จากการ
ให้บริการ
ตัวอย่าง ถ้าเป็นการเอาประกันภัยกำไรขั้นต้น (Gross Profit) ก็จะให้ความคุ้มครองจำกัดเฉพาะการสูญเสีย
กำไรขั้นต้น (Loss of Gross Profit) อันเนื่องมาจากการลดลงของยอดรายได้ (Reduction in Turnover) และการ
เพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ (Increase in Cost of Working) เป็นต้น เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัยกลับสู่
สถานะทางการเงินดังเดิมเสมือนไม่ได้เกิดวินาศภัยนั้นขึ้น
้
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัยค่อนขาง
สูง เช่น ศูนย์การค้า ศูนย์การประชุมและจัดแสดงนิทรรศการ โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล เป็นต้น
ํ
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
์
ั
้
ั
ิ