Page 231 - InsuranceHandbook
P. 231

212   คู่มือประกันวินาศภัยไทย
             Thai General Insurance Handbook

                                                                                                           ้
                                                                                                           ั
              เสียหายอันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อครง
              และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้บงคับหรือปล่อยอากาศยานกับสำนักงานการบินพลเรือน (The Civil Aviation
                                       ั
              Authority of Thailand: CAAT) โดยหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานมีอายุคราวละ 2 ปี
                     นอกจากนั้น ยังจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่กับสำนักงานคณะกรรมการกิจการ
              กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้วย

                     การประกันภัยโดรนจะมีความคุ้มครองหลักดังนี้
                     1) ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อโดรนที่เอาประกันภัย
                     2) ความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย การบาดเจ็บ หรืออนามัย ของบุคคลภายนอกต่ออุบัติเหตุ
                     3) ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกต่ออุบัติเหตุ

                     4) ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีต่ออุบัติเหตุ
                     5) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานโดรนกรณีถูกควบคุมตัวในคดีอาญาเนื่องจากการบังคับหรือปล่อยอากาศ
              ยานโดรนแล้วเกิดอุบัติเหตุ
                        การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานโดรน ผู้ผลิตโดรนหรือ

              ร้านขายโดรนที่ต้องการจัดทำประกันภัยให้กับผู้ซื้อโดรน

                 4. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)

                 คำว่าการประกันภัยเบ็ดเตล็ดในประเทศอังกฤษ จะเรียกว่า Miscellaneous Insurance ส่วนในประเทศ
              สหรัฐอเมริกาเรียกว่า Casualty Insurance

                 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด เป็นการประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ไม่จัดอยู่ในการประกันอัคคีภัย การประกันภัย
              รถยนต์ และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการประกันภัยเบ็ดเตลดที่สำคัญเท่านั้น โดย
                                                                                           ็
              สามารถแบ่งการประกันภัยเบ็ดเตล็ดได้ 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
                     4.1  การประกันภัยที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน

                     4.2 การประกันภัยที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรม
                     4.3 การประกันภัยที่เกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย
                     4.4  การประกันภัยที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและสุขภาพ


                     4.1 การประกันภัยที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
                                      ั
                         4.1.1 การประกนภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน [Accidental Damage (Property) Insurance]
                                                       ้
                         ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันภัยได ประกอบด้วย สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคารสำนักงาน โกดัง โรงงาน
              อุตสาหกรรม และทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น เครื่องจักร วัตถุดิบ สต็อกสินค้า เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น

                                                                                   ี
                         การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน มีพื้นฐานมาจากการประกันอคคภัย แต่ให้ความคุ้มครองที่กว้าง
                                                                                ั
              กว่าการประกันอัคคีภัย ข้อตกลงคุ้มครองของการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินเป็นแบบสรรพภัย (All Risks
              Basis) โดยบริษัทตกลงจะให้ความคุ้มครองสำหรับความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากอุบัติเหต
                                                                                                            ุ
              ใด ๆ ที่มิได้มีการระบุยกเว้นไว้ ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
                         นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยยังสามารถขอให้บริษัทประกันภัยพิจารณาขยายความคุ้มครองดังต่อไปนี้
                             1) เครื่องจักรหยุดชะงัก (Machinery Breakdown)
                             2) หม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน (Boiler & Pressure Vessel)
                             3) ความเสียหายสำหรับเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Equipment)

                             4) ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrical Installation)
                             5) การชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ (Robbery, Gang-Robbery)


                                                               ํ
                                                             ้
                                      ิ
                                       ิ
                                   ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
                                    ิ
                                                    ิ
                                                        ั
                                       ์
                                                  ั
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236