Page 261 - InsuranceHandbook
P. 261
242 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
นอกเหนือจากความคุ้มครองหลักที่ได้อธิบายข้างต้น ผู้เอาประกันภัยยังสามารถจะขอให้บริษัทประกันภัย
พิจารณาขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมต่าง ๆ เช่น การถูกฟ้องร้องหรือเรียกร้องให้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้าง
งาน (Employment Practice Liability Claim) ความรับผิดของบริษัทสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใน
ส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัท (Entity Security Claim) เป็นต้น
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัททมีแผนจะจดทะเบียนใน
่
ี
้
ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ต้องการปองกันความเสี่ยงจากการบริหารงานที่มีโอกาสถูกเรียกร้องค่าเสียหาย จาก
ลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น หรือหน่วยงานรัฐ
5.2 การประกันภัยความเสียหายจากอาชญากรรมทางการเงิน (Banker’s Blanket Bond: BBB)
เป็นการประกันภัยที่ป้องกันผลกระทบของการสูญเสียหรือความเสียหายที่รุนแรงของสถาบันการเงินและ
ธนาคารอันเกิดจากการทุจริตของพนักงาน การปลอมแปลง และการเปลี่ยนแปลงเอกสารทางการเงินที่นำไปใช้
กระทำผิดทางกฎหมาย รวมถึงการสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของสถาบันการเงิน และธนาคารใน
ระหว่างการดำเนินงานของทางธนาคารเอง
ความเสี่ยงภัยที่ได้รับความคุ้มครอง เช่น
1) ความเสียหายทางการเงินที่เกิดจากการทุจริตของพนักงาน
2) การสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในสถานที่ของสถาบันการเงิน
3) การสูญหายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินระหว่างการขนส่ง รวมถึงการโจรกรรมหรือการทำลาย
ทรัพย์สินระหว่างการขนส่ง
4) ความเสียหายที่เกิดจากการปลอมแปลงเช็ค
5) ความเสียหายจากการปลอมแปลงหลักทรัพย์และตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
6) ความเสียหายที่เกิดจากสกุลเงินปลอม
7) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินภายในสถานที่ของสถาบันการเงิน อันเป็นผลมาจากการกระทำที่ผิด
กฎหมายโดยบุคคลภายนอก
การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์
จัดการกองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น
5.3 การประกันภัยความรับผิดทางด้านวิชาชีพของสถาบันการเงิน (Financial Institutions
Professional Indemnity Insurance: FIPI)
การประกันภัยความรับผิดทางด้านวิชาชีพของสถาบันการเงิน ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกบ
ั
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อคุ้มครองความรับผิดทางด้านวิชาชีพ
ของสถาบันการเงินและบริษัทย่อยของสถาบันการเงิน รวมทั้งบุคคลตามที่สถาบันการเงินกำหนด จากการปฏิบัติ
หน้าที่ตามวิชาชีพให้กับสถาบันการเงินและบริษัทย่อยของสถาบันการเงินสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ซึ่ง
เกิดขึ้นจากการกระทำ (Act) ความผิดพลาด (Error) การละเลย (Omission) การละเลยหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(Breach of duty) การทำผิดหน้าที่ทได้รับมอบหมาย (Breach of trust) การละเมิดอำนาจ (Breach of authority)
่
ี
การกล่าวบิดเบือน (Misstatement) หรือการแสดงข้อความที่ทำให้เข้าใจผิด (Misleading statement) โดยสถาบัน
การเงินขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ หรือการไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการทางวิชาชีพ
การประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองสถาบันการเงินและบริษัทในเครือทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจน
กรรมการ เจ้าหน้าที่บริหารและพนักงานทั้งหมด ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี
ั
้
ํ
ิ
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ั
์
ิ