Page 223 - InsuranceHandbook
P. 223

204   คู่มือประกันวินาศภัยไทย
             Thai General Insurance Handbook


                     3. Institute Time Clauses - Hulls (CL.280)
                     ให้ความคุ้มครองเหมือนกับข้อ 2. และรวมถึงค่าซ่อมเรือที่เอาประกันภัย

                     สำหรับความคุ้มครองตามข้อกำหนดแบบที่ 2. และ 3. ข้างต้น ยังครอบคลุมถึงความรับผิดจากการชนกน
                                                                                                           ั
              (Collision Liability) (ในการประกันภัยทางทะเล เรียกว่า “การโดนกัน”) เมื่อเรือที่เอาประกันภัยได้ชน และทำ
              ความเสียหายแก่เรือ และทรัพย์สินในเรือลำอื่นทำให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายขึ้น

                     นอกจากนั้นผู้เอาประกันภัยอาจจะขอซื้อการขยายความคุ้มครองสำหรับค่าระวาง (Freight) เพื่อชดเชย

              ค่าระวางเรือที่อาจจะไม่ได้รับในกรณีที่เรือเสียหายระหว่างทาง และไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้


                     การประกันภัยนี้เหมาะสำหรับเจ้าของเรือ สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืม ผู้เช่าเรือเหมาลำ


                                                                                ่
                                                                                ี
                     หมายเหต : นอกเหนือจากการเอาประกันภัยตัวเรือและเครื่องจักรทได้อธิบายข้างต้น เจ้าของเรือควร
                              ุ
              จะต้องเอาประกันภัยความรับผิดของเรือกับผู้รับประกันภัยความรับผิดของเจ้าของเรือ หรือชมรมคุ้มครองและชดใช้
                                                   ี
              (Protection & Indemnity Club) ซึ่งนิยมเรยกย่อ ๆ ว่า พีแอนด์ไอคลับ (P&I Club) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดย
              บรรดาเจ้าของเรือโดยไมได้มุ่งหวังการหากำไร (Non-Profit Making)  ปัจจุบัน P&I Club ส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคลซึ่ง
                                  ่
              อาจอยู่ในรูปของบริษัทจำกัด เจ้าของเรือในประเทศไทยที่ประสงค์จะขอเอาประกันภัยนี้ต้องติดต่อผ่าน

              ผู้ประสานงานของคลับ (Club Correspondent) ซึ่งจะทำหนาที่ประสานงานไปยัง P&I Club ที่ต้องการจะ
                                                                    ้
              เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในต่างประเทศ

                     P&I Club จะทำหน้าที่เป็นผู้รับประกันภัยความรับผิดของเจ้าของเรือแบบสหการ (Mutual Insurance)
              โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประกันภัยความรับผิดของกันและกัน โดยเจ้าของเรือแต่ละรายทเป็นสมาชิกของคลับนั้น
                                                                                         ี
                                                                                         ่
              อยู่ในฐานะผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยในตัวเอง โดยการร่วมลงเงินจ่ายเบี้ยประกันภัยซึ่งเรียกว่า “Calls”

              ให้แก่ P&I Club ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างไปจากการเรียกเก็บเบี้ยประกันภัย (Premium) ของ
              บริษัทประกันภัยโดยทั่วไป

                     P&I Club จะชดใช้ความเสียหายที่บรรดาสมาชิกในคลับได้ก่อขึ้นและคุ้มครองความเสี่ยงภัยและความรบ
                                                                                                           ั
                                                                                                           ็
              ผิดของบรรดาสมาชิกซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยทั่ว ๆ ไปไม่อาจให้ความคุ้มครองได้ หรือให้ความคุ้มครองแต่ไม่เตม
              จำนวนความเสียหาย เช่น ในกรณีเรือชนกัน แต่ผู้รับประกันภัยตัวเรือบางรายอาจจำกัดความคุ้มครองเพียง 3 ใน 4

              ส่วนของความเสียหาย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับตัวเรือ เป็นต้น


                     3.1.2 การประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Marine Cargo Insurance)

                     การประกันภัยสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขนสงโดยวิธีใด เดิมเรียกว่า
                                                                                         ่
              การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือการประกันภัยสินค้าขนส่งทางทะเล ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม
              ศัพท์ประกันภัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา แต่ในปัจจุบันเรียกว่า การประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

                                                ิ
              โดยยังคงศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่เดม คือ Marine Cargo Insurance แต่ในต่างประเทศเริ่มมีผู้เรียกเป็น
              ภาษาอังกฤษว่า International Cargo Insurance เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน
              ที่อาจจะเป็นการขนส่งทางบก ทางทะเล และ/หรือ ทางอากาศ


                                                               ํ
                                       ์
                                       ิ
                                    ิ
                                      ิ
                                                  ั
                                                        ั
                                                             ้
                                   ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
                                                    ิ
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228