Page 13 - InsuranceJournal144
P. 13
รอบรู้ประกันภัย
พลิกโฉมธุรกิจประกันกับ IFRS17
พลิกโฉมธุรกิจประกันกับ IFRS17
(ตอนที่ 1)
(ตอนที่ 1)
โดย ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน)
นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
และ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น จ�ากัด (ABS)
ั
ี
�
ทราบไหมครับว่าตอนน้บริษัทประกันภัยโดยเฉพาะนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและนักบัญชีกาลังต่นตัวกันท่วโลกกับมาตรฐานการรายงาน
ื
ทางการเงินตัวใหม่แกะกล่อง (ที่มีผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกถกเถียงกันมาเกือบ 20 ปี) เกี่ยวกับเรื่อง “สัญญาประกันภัย” ว่าควรจะจัดประเภทอย่างไร
วัดมูลค่าอย่างไร หรือเปิดเผยข้อมูลอย่างไร ให้ดูเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
บางคนอาจจะถามดัง ๆ ในใจออกมาว่า “แล้วมาตรฐานตอนนี้มันไม่เหมาะสมหรือ?” ซึ่งถ้าจะฟันธงว่าไม่เหมาะสมนั้นก็คงจะไม่กล้า
แต่เอาเป็นว่าเรามาท�าความเข้าใจที่มาที่ไปว่าความเป็นมาอย่างไร และมีแนวคิดรวบยอดให้เราน�าไปปฏิบัติอย่างไรบ้าง
เริ่มต้นจาก?
�
�
ื
ิ
ี
ึ
ก่อนอ่นต้องขออ้างถึงก่อนว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงนฉบับน้เขียนโดยนักบัญชี ซ่งมีจานวนอยู่กว่า 300 หน้า ทาให้ภาษา
ส่วนใหญ่เป็นภาษาของนักบัญชี และจะเป็น principle base (ไม่ใช่ rule base อีกต่อไป) ท�าให้การอ่านมาตรฐานฉบับนี้ ต้องอ่านด้วยดวงตาที่ 3
เพื่อตีความถึงหลักการที่ควรจะเป็น และการน�าหลักการไปปฏิบัติอีกทีให้เหมาะสม
ดังนั้น เวลาอ่านมาตรฐานฉบับนี้แล้ว ก็ควรจะพยายามท�าความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ว่า “ท�าไปเพื่ออะไร” ไปด้วยครับ เพราะมาตรฐาน
ฉบับนี้เป็นการเปลี่ยนพื้นฐานและวิธีคิดของสัญญาประกันภัยทั้งหมด (เป็น fundamental change) เรียกว่าเป็น lifetime event ที่ 100 ปี จะ
มีการเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้หนนึง (ขนาดถกเถียงกันมาจนสรุปกันได้ ก็ใช้เวลาไปเกือบ 20 ปีไปแล้ว) โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอย่างแรกก็คือ
การรับรู้รายได้ที่จะลดลงไปมาก (แต่ก�าไรยังเท่าเดิม) และการเปลี่ยนวิธีรับรู้รายได้ ซึ่งท�าให้สามารถน�าไปเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยของฝั่ง
ประกันวินาศภัยกับฝั่งประกันชีวิตได้
ท�าไมถึงเปลี่ยน?
ั
ี
ึ
�
ี
มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปัจจุบันท่ใช้อยู่ ซ่งเรียกว่า IFRS4 สัญญาประกันภัย น้นยังมีข้อกังขาอยู่หลายประเด็นท่ทาให้
นักลงทุนหรือคนที่อ่านงบการเงินยังคลางแคลงใจอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็น การที่มาตรฐานเปิดกว้างให้ใช้หลักการทาง GAAP (General Accepted
Accounting Principle) ของประเทศตนเองได้ ซึ่งนั่นก็แปลว่าประเทศใครประเทศมัน จึงไม่แปลกเลยว่า มาตรฐาน IFRS4 ของประเทศไทย
(เรียกว่า TFRS4) นั้น มีความแตกต่างกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ค่อนข้างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วิธีการค�านวณเงินส�ารองทางคณิตศาสตร์
ประกันภัยที่ยังแปลกตาไม่เหมือนใคร
นอกจากนี้แล้ว มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่องสัญญาประกันภัยในปัจจุบัน ยังท�าให้เปรียบเทียบบริษัทประกันภัยด้วยกันเอง
ยากอยู่ รวมไปถึงการลงบัญชีต่าง ๆ ยังค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งก็ส่งผลให้เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นไม่ได้ด้วย
�
�
สาหรับธุรกิจประกันวินาศภัยแล้ว จะถูกนารายได้มาเปรียบเทียบกับธุรกิจประกันชีวิต เพราะรายได้ของธุรกิจประกันชีวิตจะถูกนามา
�
ี
นิยามใหม่ให้เปรียบเทียบกับรายได้จากธุรกิจประกันวินาศภัย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทประกันชีวิตรับเบ้ยประกันชีวิต 1 ล้านบาท ถ้าจัดประเภท
เป็นสัญญาประกันภัย (Insurance contract) แล้ว ก็สามารถจะน�าตัวเลข 1 ล้านบาทใส่เข้าไปในงบการเงินและรับรู้เป็นรายได้ทั้งก้อน แต่ถ้าเงิน
�
ั
1 ล้านบาทน้นไปถูกใส่ในธนาคารเป็นเงินฝาก ธนาคารจะไม่สามารถนาตัวเลข 1 ล้านบาทไปเป็นรายได้ แต่จะลงบัญชีได้เฉพาะค่าธรรมเนียม
ั
ั
เท่าน้น และด้วยปรากฏการณ์แบบน้เองจึงทาให้การขายประกันผ่านทางธนาคารน้นสามารถรับรู้ยอดขายได้ท้งก้อน ซ่งปรากฏให้เห็นเป็นข่าว
ึ
ี
ั
�
ี
ี
อยู่เสมอว่ายอดขายพุ่งและเติบโตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแบบประกันท่เน้นไปทางสะสมทรัพย์ ท่สามารถรับรู้ทางอ้อมในส่วนของเงินฝาก
ไปเป็นรายรับด้วย (ต่างกับธนาคารจะไม่สามารถรับรู้เงินฝากท่ได้รับมา มาเป็นรายได้เลย เพราะอนุญาตให้นาค่าธรรมเนียมมาเป็นรายได้เท่าน้น)
�
ี
ั
สรุปแล้ว เมื่อน�ามาตรฐานตัวใหม่นี้มาใช้แล้ว งบการเงินของธุรกิจประกันชีวิต จะสามารถเปรียบเทียบกับธุรกิจประกันวินาศภัย
ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถน�าไปเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้อีกด้วย
วารสารประกันภัย ฉบับที่ 144 13