Page 14 - InsuranceJournal144
P. 14

รอบรู้ประกันภัย


               เริ่มเมื่อไร?
                                ี
                                                              ิ
                ก่อนจะลงลึกไปกว่าน้ เรามามองว่าประเทศต่าง ๆ ท่วโลกได้เร่มเตรียมพร้อมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับน้อย่างไรบ้าง
                                                                                                       ี
                                                       ั
          โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (IFRS) ต่าง ๆ ได้มีมติมาจาก IASB (International Accounting Standing Board) ซึ่งมาจากทวีปยุโรป
          เป็นส่วนใหญ่ จึงท�าให้ประเทศในแถบนี้ตื่นตัวกันมาก โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2021 (พ.ศ. 2564) ส่วนในเอเชียเอง
          นั้น ก็จะมี มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ที่ได้ยินมาว่าจะเริ่มพร้อม ๆ กับทางฝั่งยุโรป แถมประเทศจีนก็มีการแปลมาตรฐานฉบับนี้ใน
          ภาษาของตัวเองอีกด้วย ส่วนอินเดียนี่มาแรงและแปลกกว่าเพื่อน เพราะอยากจะประกาศใช้ในปี 2020 ซึ่งหากท�าได้จริง ประเทศอินเดียก็จะเป็น
          ประเทศแรกของโลกเลยทีเดียวที่จะใช้มาตรฐานฉบับนี้ก่อนเพื่อน (ซึ่งก็คงต้องตามดูกันต่อไป)
                อีกประเทศที่ต้องจับตามองก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่ไม่เอาด้วยกับ IFRS17 เลย แต่จะยังยึดถือมาตรฐานของเขาเอง ที่เรียกว่า US GAAP
                                                                  ั
                                                                                                       �
                                                       ั
                                                                        ่
                                            ี
                                                                                                   ่
                                            ่
                                                      ้
                                                ิ
          (General Accepted Accounting Principle) ทอเมรกาเองใชกนมานมนานครบ (เลยไมยอมเปลยน แถมเคยประกาศออกมาวาจะทา US GAAP
                                                                              ่
                                                                              ี
          phase 2 ออกมาข่มอีก ซึ่งคนน�ามาปฏิบัติคงสนุกกันน่าดูเลยครับ เพราะต้องเข้าใจทั้งสองมาตรฐานนี้ไปพร้อม ๆ กัน)
                กลับมาที่ประเทศไทยกันดีกว่าครับ โดยของประเทศไทยนั้นจะใช้หลังจากที่คนอื่นใช้กัน 1 ปี ซึ่งก็คือ จะเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2022
          (พ.ศ. 2565) แต่อย่าเพิ่งดีใจไปว่ามันยังอีกห่างไกล เพราะเวลาที่จะน�ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่มาใช้นั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ก็โผล่
          ตัวเลขใหม่มาเลย มันจะต้องมีการเปรียบเทียบกับตัวเลขของงบการเงินในปีที่ผ่านมาด้วย (เพราะการดูตัวเลขไม่ได้ดูที่ผลลัพธ์ในตอนนั้น แต่ต้อง
          ดูถึงการเปลี่ยนแปลงและทิศทางจากปีที่ผ่านมาด้วย นั่นจึงถือเป็นการอ่านงบการเงินที่แท้จริง) นั่นก็แปลว่า ถ้าจะต้องเริ่มใช้กันวันที่ 1 มกราคม
          2022 นั้น เราจะต้องมีตัวเลขของปี 2021 มาให้เปรียบเทียบด้วย ซึ่งแปลความอีกทีว่า ประเทศไทยนั้นจะต้องท�าตัวเลขงบการเงินตามมาตรฐาน
          การรายงานทางการเงินตัวนี้ ที่ ไตรมาส 1 ปี 2021 (พ.ศ. 2564) นั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าเรามีเวลาให้เตรียมตัวไม่นานนัก เพราะถ้าใครที่เป็นนักบัญชี
          หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เคยน�ามาตรฐานการรายงานทางการเงินไม่ว่าจะฉบับไหนก็ตามมาปฏิบัติใช้ในตอนแรก ก็จะรู้เลยว่าเวลาที่เหลือ
          ให้เตรียมตัวนั้นผ่านไปไวมาก จนท�าให้เราไม่มีโอกาสได้เตรียมตัวเลย ราวกับกระพริบตาส่องกระจกแว๊บเดียว ไม่ทันได้เตรียมตัวอะไร ตีนกาก็ขึ้น
          ซะละ

             5 ประเด็นของมาตรฐานตัวใหม่ที่เข้าถึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินได้มากขึ้น

                  ื
                                        ั
                เม่อสอบถามไปทางผู้สอบบัญชีท่วโลกแล้วจะได้รับความเห็นพ้องกันว่า การลงบัญชีของธุรกิจประกันภัย (insurance accounting
          standard) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังมีความไม่ต่อเนื่อง (inconsistent) ไม่เหมือนกัน (non-uniform) และ ไม่โปร่งใส (non-transparent) อยู่
          ท�าให้ความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัยยังมีไม่มากเท่าที่ควร (ดังจะเห็นหุ้นประกันภัยของบ้านเรา เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง อาจเพราะส่วนหนึ่งมาจาก
          งบการเงินที่แกว่งไปมา)
                มาตรฐานตัวใหม่จึงต้องการท�าให้เป็นวิธีการที่เหมือนกัน (single accounting approach) ดังนี้
             1  Provide up-to-date market consistent information of obligation including value of option & guarantee: สมมติฐาน
                ทางคณิตศาสตร์ประกันภัยต่าง ๆ ที่เป็น forward looking มองไปในอนาคตข้างหน้านั้น ควรจะเป็นตัวใหม่สุด (คล้ายกับวิธีการน�า
                สมมติฐานใหม่มาเพื่อค�านวณมูลค่าประเมิน) ที่สอดคล้องกับตลาด โดยต้องอย่าลืมเรื่องเงื่อนไข สิทธิ ที่ไปการันตีให้ลูกค้าไว้ (เรียกว่า
                Option & Guarantee) เช่น บริษัทสัญญากับลูกค้าไว้ว่า บริษัทจะให้เงินคืนไม่ต�่ากว่า x% เป็นต้น (ถ้าจะกล่าวกันในเชิงเทคนิคของ
                พวกท่การันตีแบบน้ มันจะเป็นความเส่ยงทางด้านการเงินท่เกิดข้นจากการไปการันตี บริษัทเลยต้องทาการคานวณโดยใช้วิธีแบบ
                                             ี
                                                            ี
                     ี
                                                                                            �
                                                                ึ
                               ี
                                                                                                 �
                Stochastic modeling เช่นกัน)
             2  Reflects time value of money: การประมาณการไปข้างหน้าโดยใช้สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น จะต้องน�ากลับมาคิด
                เป็นมูลค่าเงินปัจจุบัน (Present Value) ด้วย ซึ่งทางบริษัทประกันภัยก็ท�าเป็นปกติอยู่แล้ว
             3  Reflects the characteristics of the insurance contract rather than the risk related to asset/investment activity: บริษัท
                ประกันภัยควรจะสะท้อนความเสี่ยงจากตัวสัญญาประกันภัยเท่านั้น ไม่ใช่ไปสะท้อนความเสี่ยงจากทางฝั่งสินทรัพย์หรือจากการลงทุน
                เข้าไปด้วย
             4  Provides separate information about the investment and underwriting performance: ปกติแล้ว บริษัทประกันชีวิตและ
                บริษัทประกันวินาศภัย จะมีส่วนประกอบของก�าไรอยู่ 2 ส่วน โดยส่วนแรกเรียกว่า Underwriting profit ซึ่งก็คล้ายกับก�าไรจากการ
                                                                                                   ึ
                                                                                                             ี
                                                   ี
                 �
                                                                                               �
                ดาเนินงาน โดยเกิดจากการพิจารณารับความเส่ยงเข้ามา และบริษัทบริหารจัดการความเส่ยงได้ดี เลยเกิดกาไรข้น และส่วนท่สอง
                                                                                   ี
                เรียกว่า Investment profit ซึ่งปกติแล้ว บริษัทจะมีการตั้งเป้าว่าแบบประกันตัวหนึ่ง ๆ ควรจะมีดอกผลจากการลงทุนได้เท่าไร และ
                ถ้าบริษัทประกันสามารถลงทุนได้ดอกผลมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะถือว่าเป็นก�าไรในส่วนนี้ โดยมาตรฐานใหม่นี้จะแยกก�าไรทั้ง 2 ชนิดนี้
                ออกมาอย่างชัดเจน เพื่อความโปร่งใสและเห็นส่วนผสมของที่มาของก�าไรเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
         14          วารสารประกันภัย  ฉบับที่ 144
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19