Page 55 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 55

ห ม ว ด ที่   3  | 47


                                                    25
                         3.  ผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง  หมายถึง บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือมีอำนาจ
                  ควบคุมความสัมพันธ์ทางธุรกิจของลูกค้ากับบริษัทประกันวินาศภัย หรือบุคคลที่ลูกค้าทำธุรกรรมแทน

                  รวมถึงบุคคลที่ใช้อำนาจควบคุมนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย โดยการพิจารณาถึง
                  ผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัย หมายถึง ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับเงิน
                  ค่าสินไหมทดแทนบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือมีอำนาจควบคุมทางธุรกิจ โดยกรณีของ
                  นิติบุคคลจะต้องพิจารณาตัวกรรมการผู้มีอำนาจในการดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย

                         4.  คู่ค้า หมายถึง คู่สัญญาของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น
                  อู่ โรงพยาบาล เป็นต้น แม้ว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และ
                  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยาย
                  อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 ไม่มีข้อกำหนดสำหรับ “คู่ค้า” แต่เพื่อให้มีการบริหารจัดการ

                  ความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมกับบริษัทที่ไม่ใช่ลูกค้า บริษัทควรต้องมีการตรวจสอบคู่ค้ากับรายชื่อ
                  บุคคลที่ถูกกำหนดตามประเภทของคู่ค้า ในทำนองเดียวกับประเภทของลูกค้า และอาจมีการกำหนด
                  แนวทางการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม ก็ได้


                         หมายเหตุ บุคคลตามข้อ 1.– 4. ข้างต้น หากเป็นบุคคลเดียวกันซึ่งได้แสดงตนไว้แล้ว ไม่ต้อง
                  แสดงตนซ้ำอก
                            ี


                  ส่วนที่ 2 การจัดให้ลูกค้าแสดงตนกรณีพิเศษ (เฉพาะบริษัทประกันวินาศภัย)
                         1.  กรณีประกันภัยต่อ หรือประกันภัยร่วม หมายความว่า กรณีที่บริษัทประกันวินาศภัย
                  ดำเนินกิจการรับประกันภัยในทรัพย์สินหนึ่งทรัพย์สินใดร่วมกับประกันภัยอื่น

                               1.1  ในกรณีการประกันภัยร่วม บริษัทประกันวินาศภัยหลัก (Leader) เป็นผู้มีหน้าที่
                  จัดให้ลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ประกันภัย หรือลูกค้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย หรือลูกค้าทรับค่าสินไหมทดแทน
                                                                                     ี่
                  ตามกรมธรรม์ประกันภัย (กรณีที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกัน) แสดงตน
                               1.2  เมื่อบริษัทประกันวินาศภัยหลัก (Leader) ได้จัดให้ลูกค้าแสดงตนไว้แล้ว
                  บริษัทประกันภัยร่วมไม่ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตนอีก

                               1.3  กรณีที่ลูกค้าติดต่อขอรับค่าสินไหมทดแทนหรือทำธุรกรรมอื่น ๆ โดยตรงกับ
                  บริษัทประกันภัยต่อหรือบริษัทประกันภัยร่วม บริษัทประกันภัยต่อหรือบริษัทประกันภัยร่วมนั้น ต้องจัด
                  ให้ลูกค้านั้นแสดงตนด้วย

                         2.  กรณีลูกค้าประเภทพิเศษ อันได้แก่
                               2.1  กรณีพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระรัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์
                  ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปจนถึงชั้นเจ้าฟ้า เป็นลูกค้าของบริษัท บริษัทควรจัดให้แสดงข้อมูลตาม
                  ความเหมาะสม

                               2.2  กรณีรัฐบาล ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
                  รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นลูกค้า บริษัทต้องจัดให้ลูกค้า (หน่วยงาน)
                  และผู้รับมอบอำนาจ (โดยตำแหน่ง) จากลูกค้าแสดงข้อมูลตามความเหมาะสม เช่น จัดให้แสดงหนังสือ
                  ราชการแสดงความจำนงในการซื้อกรมธรรม์ประกันภัย หรือหนังสือแต่งตั้ง หรือหนังสือมอบอำนาจ

                  จากหน่วยงานนั้น ๆ ให้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัท

                  25  กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ.2563


                                          คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
                                                        ตุลาคม 2567
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60