Page 107 - InsuranceHandbook
P. 107
88 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
9) ความเสี่ยงภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
10) ประวัติการเอาประกันภัย
11) คำรับรองว่าข้อความที่แถลงไว้เป็นความจริง
12) ลายมือชื่อผู้ขอเอาประกันภัย
13) วันที่ขอเอาประกันภัย
14) คำเตือนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ั
(โปรดดูภาคผนวก 1 ตัวอย่างใบคำขอเอาประกันอคคีภัย)
หมายเหตุ: ใบคำขอเอาประกันอัคคีภัยที่มีใช้กันอยู่ยังไม่มีฉบับมาตรฐาน
2. กรมธรรม์ประกันภัย (Insurance Policy หรือ Policy)
เมื่อผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัยก็จะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยที่มีเนื้อความตามที่ตกลงกันไว้
ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรกและวรรคสองได้บัญญัติไว้ว่า
่
ึ
“อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนงลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมอ
ื
่
ชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันม ี
เนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง”
กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) เป็นคำที่มาจากภาษาอิตาลีว่า Polizza หมายถึง เอกสารที่เป็นหลักฐานของ
ี
่
สัญญาประกันภัยที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและแสดงรายละเอียดของสัญญาประกันภัย เช่น วัตถุท
เอาประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสด และ
ุ
อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยและ
ผู้รับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยนี้ใช้เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้ หากไม่มีกรมธรรม ์
ประกันภัยหรือไม่มีหลักฐานอื่นใด เช่น ใบเสร็จรับเงินที่มีการลงลายมือชื่อของฝ่ายผู้รับประกันภัยที่ยืนยันได้ว่า
ผู้รับประกันภัยได้มีการตกลงรับประกันภัยไว้แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
2.1 รายละเอียดในกรมธรรม์ประกันภัย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคสามได้กำหนดรายการต่าง ๆ ซึ่งจะต้องปรากฏ
ในกรมธรรม์ประกันภัยไว้ดังนี้
1. วัตถุที่เอาประกันภัย หมายถึง ตัวทรัพย์สิน สิทธิ หรือความรับผิด อันเป็นที่ตั้งของส่วนได้เสีย เช่น
สิ่งปลูกสร้าง หรือความรับผิดในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น
้
2. ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง หมายถึง ชนิดของภัยที่ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง เช่น ไฟไหม ฟ้าผ่า การ
ระเบิด
3. ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้กำหนดกันไว้ หมายถึง ราคาของส่วนได้เสีย ถ้าหากคู่กรณีตกลงไว้ก ็
ต้องระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
4. จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย หมายถึง จำนวนเงินสูงสุดที่กำหนดไว้เพื่อผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ถ้า
หากมีภัยเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย
5. จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจะให้เป็นการตอบแทน
การรับเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัย จะส่งเป็นงวดเดียวหรือหลายงวดก็ได้
6. ถ้าสัญญาประกันภัยมีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย การทำสัญญาประกันภัย
อาจมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดอายุสัญญาก็ได้ เช่น ระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 25X4
เวลา 16.00 น. สิ้นสุดวันที่ 1 ตุลาคม 25X5 เวลา 16.00 น. เป็นต้น
ํ
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
์
ั
้
ั
ิ