Page 109 - InsuranceHandbook
P. 109
90 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
ึ
้
2) แบบสรรพภัย (All Risks Basis) กรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขน
ซึ่งมิได้มีการระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งหมายความว่า ถ้าหากเป็นความเสียหายจากภัยที่ไม่ได้ระบ ุ
ยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยก็จะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัย
ทรัพย์สิน
รูปภาพที่ 6-2 ความคุ้มครองแบบสรรพภัย (All Risks Basis)
หากเปรียบเทียบความคุ้มครองทั้ง 2 แบบแล้ว จะเห็นได้ว่าความคุ้มครองแบบสรรพภัยกว้างกว่า
ความคุ้มครองแบบระบุภัย
2.2.4 ข้อยกเว้น (Exclusions) เป็นข้อความที่ผู้รับประกันภัยระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยว่าจะไม ่
์
ื
คุ้มครองภัยหรอเหตุแห่งภัยบางอย่าง วัตถุบางชนิด หรือเหตุการณบางอย่าง โดยสามารถจำแนกข้อยกเว้นออกได ้
เป็น 4 ประเภท คือ
ุ้
1) การยกเว้นภัย (Excluded Perils) เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยไม่คมครองความเสียหายซึ่งเกิดขึ้น
จากสงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้ม ี
การประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน
ึ
การก่อความวุ่นวาย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศก
หรือเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
2) การยกเว้นความเสียหาย (Excluded Losses) เช่น กรมธรรม์ประกันภัยรถยนตไม่คุ้มครองความ
์
ื
เสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยจากการเส่อมราคา หรือการสึกหรอของรถยนต์ การแตกหักของเคร่องจักรกลไก
ื
ของรถยนต์ หรือการเสียหรือการหยุดเดินของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ
3) การยกเว้นการใช้งาน (Excluded Uses) เช่น กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไม่คุ้มครองการใช้รถยนต์
นอกอาณาเขตที่คุ้มครอง การใช้รถยนต์ไปในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น ใช้รถยนต์ไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยา
เสพติด เป็นต้น
ํ
้
ิ
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
ิ
ั
์
ั