Page 111 - InsuranceHandbook
P. 111
92 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือผู้ซึ่งเลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มอบหมาย ผู้รับประกันภัยก็จะติดเอกสาร
เหล่านี้แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยที่จะออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเช่นเดียวกัน
(โปรดดูภาคผนวก 4 ตัวอย่างเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองประกันอัคคีภัย)
4. ใบสลักหลัง หรือบันทึกการสลักหลัง (Endorsement)
ภายหลังจากสัญญาประกันภัยได้เริ่มความคุ้มครองแล้ว หากผู้เอาประกันภัยมีความจำเป็นต้องขอ
เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือแก้ไขสาระของกรมธรรม์ประกันภัย เช่น การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย
การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกผู้รับประโยชน์ การเพิ่มหรือลดจำนวนเงินเอาประกันภัย การเพิ่มหรือลดภัยที่คุ้มครอง
ื่
เป็นต้น ผู้รับประกันภัยจะออกใบสลักหลัง หรือบันทึกการสลักหลัง ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเพอ
่
ี
ิ
่
ใช้ในการบันทึกข้อความที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพมเติมจากข้อความปกติในกรมธรรม์ประกันภัยท
ผู้รับประกันภัยได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว
5. หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note หรือ Binder)
ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกหนังสือคุ้มครองชั่วคราวว่า Binder ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เรียกว่า
Cover Note หนังสือคุ้มครองชั่วคราวเป็นเอกสารที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยในระหว่างท
่
ี
ผู้รับประกันภัยอยู่ระหว่างดำเนินการออกกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้การคุ้มครองชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหนง
ึ
่
เช่น 30 วัน เป็นต้น ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้สัญญาประกันภัยย่อมเป็นไปตามข้อความ และเงื่อนไขในหนังสือคุ้มครอง
ชั่วคราวที่ผู้รับประกันภัยออกให้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเงื่อนไข และข้อกำหนดความคุ้มครองเดียวกบ
ั
่
กรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยจะออกให้ การคุ้มครองตามหนังสือคุ้มครองชั่วคราวจะสิ้นสุดลงในกรณีท
ี
ผู้รับประกันภัยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยรายนั้นเรียบร้อยแล้ว หรือระยะเวลาที่ระบุไว้ใน
หนังสือคุ้มครองชั่วคราวได้สิ้นสุดลงโดยไม่มีการขยายระยะเวลาในหนังสือคุ้มครองชั่วคราวฉบับนั้นอีก
ั
(โปรดดูภาคผนวก 5 ตัวอย่างหนังสือคุ้มครองชั่วคราวของการประกันอคคีภัย)
6. กรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด (Open Policy) หรือสัญญาประกันภัยเปิด (Open Cover)
เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่นิยมใช้ในการประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการตกลงกัน
ล่วงหน้าระหว่างผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย ซึ่งสัญญาคุ้มครองแบบเปิดนี้มีผลบังคับใช้สำหรับระยะเวลาที่
กำหนดไว้ เช่น 12 เดือน โดยมีเงื่อนไขการต่ออายุโดยอัตโนมัติ หรืออาจมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในกรมธรรม ์
ิ
ประกันภัยตลอดไปจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญา ในประเทศอังกฤษเรียกว่า สัญญาประกันภัยเปด
(Open Cover) แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด (Open Policy)
ภายใต้การคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ผู้เอาประกันภัยได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัต ิ
สำหรับการส่งสินค้าทุกเที่ยวภายใต้เงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เช่น ประเภทหรือชนิดของสินค้า เงื่อนไข
ั
ุ
ู
ื
ความคุ้มครอง ประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการขนสง จำนวนเงินคุ้มครองสงสดสำหรบการขนส่งต่อเทียวในเรอ
่
่
หนึ่งลำ อัตราเบี้ยประกันภัย เงื่อนไขการบอกเลิก และเงื่อนการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งแต่ละเที่ยว เป็น
ต้น สัญญาเช่นนี้จึงก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย
ี
ถ้าผู้เอาประกันภัยประสงค์จะใหมการคุ้มครองเกินจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับการขนส่งต่อเที่ยวใน
้
เรือหนึ่งลำ จะต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการขนส่ง เพอให้เวลาผู้รับประกันภัยในการ
ื
่
จัดการกระจายความเสี่ยงภัยออกไปโดยการเอาประกันภัยต่อเสียก่อน
ิ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
ิ
ั
้
ํ
์
ั
ิ