Page 10 - InsuranceJournal127
P. 10

วิชาการ IPRB






                 ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดจาก Insurance Fraud คือการเพิ่มค่าเบี้ยประกันภัย ตัวอย่างเช่น ปี 2011 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการ

          ประเมินค่าความเสียหายจาก Insurance Fraud คิดเป็นปีละ 10% หรือคิดเป็นเงิน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,060 ล้านบาท)  ซึ่งเป็น
          เหตุท�าให้ต้องมีการเพิ่มเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเฉลี่ยปีละ 200 ถึง 300 ดอลลาร์สหรัฐ (ผู้เอาประกันภัย 7,000-10,000 บาท) ซึ่งนับ
          ได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้เอาประกันภัยอย่างมาก


          การตรวจสอบการฉ้อฉลในประกันภัย
                 มูลค่าความเสียหายต่ออุตสาหกรรมที่เกิดจาก Insurance Fraud ท�าให้หลายประเทศให้ความส�าคัญที่จะหาวิธีลดมูลค่าความเสียหาย
          และหาวิธีจัดการในหลายด้าน เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีองค์กรที่ชื่อว่า National Insurance Crime Bureau (NICB) เป็นองค์กรที่ไม่

          แสวงหาก�าไรซึ่งภาคธุรกิจประกันภัยเอกชนสนับสนุนจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับ Insurance Fraud โดยการใช้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์
          (Data Analytics) จากฐานข้อมูลที่บริษัทผู้รับประกันภัยเอกชนส่งข้อมูลรายละเอียดกรมธรรม์ ค่าสินไหมทดแทน และการเจรจาตกลงค่าสินไหม
          ทดแทน (Loss Adjustment) รวมถึงท�าการตรวจสอบ การสืบสวนด้านการฉ้อฉลและการสร้างความตระหนักรู้ให้กับสาธารณะ
                        ิ
                                                                               ู
                             ิ
                         ี
                                                                                                        ่
                 NICB ใช้วธการวเคราะห์ข้อมูลเชิงท�านาย (Predictive Analytics) ซึ่งเป็นการเรียนร้จากประสบการณ์ของข้อมูลที่มีอยูไปท�านาย
                                                                    ั้
                                            ี
                                                                                             ึ่
                                                                                                ื่
          พฤติกรรม หรือโอกาสของการฉ้อฉล ฐานข้อมูลท่ NICB เป็นผู้บริหารจัดการข้อมูลนนได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัย ซงมีชอว่า ForeWARN โดย
          บริษัทผู้รับประกันภัยที่เป็นสมาชิกของ NICB สามารถเข้าใช้เพื่อรับรายงานข้อเท็จจริงของการฉ้อฉลในอดีต การวิเคราะห์แนวโน้ม รูปแบบหรือ
          พฤติกรรมการฉ้อฉลจากแบบจ�าลองที่พัฒนาขึ้น
                 การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีหลายเทคนิค เนื่องจากการใช้เพียงเทคนิคเดียวไม่สามารถตรวจสอบ Insurance Fraud ได้ครบทุกรูปแบบ รูป
          ที่ 1 แสดงเทคนิคการวิเคราะห์หลายวิธีตามรูปแบบของ Insurance Fraud [SAS]




















                                           รูปที่ 1: เทคนิคการตรวจสอบ Insurance Fraud [SAS]






















         10        วารสารประกันภัย  ฉบับที่ 127
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15