Page 61 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 61
ห ม ว ด ที่ 3 | 53
ื
การมอบหมายให้บุคคลอ่นที่ไม่ใช่ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้า
ประกันวินาศภัย กระทำการแทนเป็นครั้งคราว ต้องมีการมอบอำนาจ หรือมอบฉันทะมาเป็น
ลายลักษณ์ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับมอบหมายในแต่ละครั้งนั้น กระทำการในนามของลูกค้า ไม่เป็นผู้ที่
ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว แต่หากไม่มีการมอบอำนาจหรือมอบฉันทะอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
ต้องถือว่าเป็นผู้ทำธุรกรรมครั้งคราว เช่น การฝากเงินค่าเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีของบริษัทโดยไม่มี
ั
การมอบอำนาจหรือมอบฉันทะอย่างเป็นลายลักษณ์อกษร เป็นต้น ต้องถือว่าเป็นการทำธุรกรรมครั้งคราว
5. กรณีมอบอำนาจ หรือมอบหมายให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวนาศ
ิ
ภัยจัดให้ลูกค้าแสดงตนแทนบริษัท
บริษัทต้องจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวินาศภัยที่ทำหน้าที่
ในการรับลูกค้าแทนบริษัท ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน และตรวจสอบข้อมูลการแสดงตน อย่างน้อยตามที่
บริษัทกำหนด โดยสอดคล้องกับข้อมูลที่ต้องใช้ในการแสดงตนในส่วนที่ 5 และ การตรวจสอบข้อมูล
การแสดงตน ในส่วนที่ 6
ู
ส่วนที่ 6 การตรวจสอบข้อมลการแสดงตน
เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าแล้ว บริษัทต้องตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ดังกล่าว โดยพิจารณาตามแนวทางดังนี้
1. พิสูจน์ทราบตัวตนและตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล หมายถึง พิสูจน์ทราบตัวตน
ของลูกค้าว่าเป็นเจ้าของข้อมูลและหลักฐานจริง เช่น ตรวจสอบว่าหน้าตาของลูกค้าตรงกับรูป
ื่
บนบัตรประจำตัวประชาชน และตรวจสอบเพอให้ทราบว่าลูกค้าได้ให้ข้อมูลการแสดงตน ครบถ้วนทุกข้อ
2. ตรวจทานข้อมูลที่ควรจะม เพื่อประโยชน์ในการติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากลูกค้า
ี
ในที่นี้ ได้แก่ ข้อมูลที่ลูกค้าอาจจะมีและยังแจ้งไม่ครบถ้วน เช่น สถานที่สะดวกติดต่อที่ไม่ใช่ที่อยู่
ตามทะเบียนบ้าน หรือสถานที่ประกอบการหลักที่นอกเหนือไปจากสถานที่ตั้ง ตามหนังสือรับรอง
ทางทะเบียนแล้วแต่กรณี หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อที่อาจมีมากกว่าหนึ่งหมายเลข เป็นต้น
3. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและหลักฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก ่
3.1 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในที่นี้ หมายถึง บรรดาข้อมูลแสดงตน
ของลูกค้าที่บริษัทมีหน้าที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ลูกค้าแจ้งแก่บริษัทนั้น ได้บันทึกหรือระบุข้อมูล
ตามที่ลูกค้าแจ้งไว้อย่างถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้รับแจ้งจากลูกค้า
3.2 การตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน ในที่นี้ หมายถึง หลักฐานที่กฎหมาย
กำหนดให้ลูกค้าแสดงต่อบริษัท ซึ่งได้แก่ หลักฐานที่รับรองความมีอยู่จริง หรือสภาพตามกฎหมายของ
ลูกค้าที่ออกโดยราชการหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ ซึ่งวิธีการตรวจสอบความถูกต้องนี้ ในเบื้องต้นบริษัทฯ
มีหน้าที่ตรวจสอบความแท้จริงของหลักฐานตามวิสัยของวิญญูชน โดยพิจารณาด้วยความชำนาญในการ
ประกอบอาชีพในธุรกิจประกันภัย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลประจำตัวประชาชนที่มีลักษณะผิดปกติชัดเจน
เช่น ให้เลขมาไม่ครบ 13 หลัก หรือให้เลขที่มีลักษณะผิดปกติชัดเจน เช่น ให้เลขที่ 3100000000000
เป็นต้น
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567