Page 63 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 63
ห ม ว ด ที่ 3 | 55
่
5. การตรวจสอบหลักฐาน ข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าที่ “สร้างความสัมพันธ์แบบไมพบ
เห็นลูกค้าต่อหน้า”
การสร้างความสัมพันธ์แบบไม่พบเห็นลูกค้าต่อหน้า สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัย
ปัจจุบัน มี 2 กรณี คือ การซื้อประกันภัยผ่านระบบออนไลน์ และการซื้อประกันภัยผ่านพนักงานขาย
ทางโทรศัพท์ (Telesales) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับ
และส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด โดยมีความคุ้มครองไม่เกินกว่า 1 ปี และเบี้ยประกันภัย
ไม่ถึง 1 แสนบาท จึงจัดอยู่ในลูกค้าประเภท “ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว” ซึ่งไม่ต้องทำการแสดงตน
ดังนั้น การพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าแบบไม่พบเห็นลูกค้าต่อหน้า ซึ่งต้องมีภาพถ่ายลูกค้าเพื่อใช้
เปรียบเทียบใบหน้าลูกค้ากับภาพของลูกค้าจากบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือข้อมูล
29
หรือหลักฐานที่น่าเชื่อถืออื่น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นลูกค้ารายนั้นจริงแทนการพบเห็นลูกค้าต่อหน้า
จึงต้องดำเนินการ เมื่อลูกค้าผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว มีเบี้ยประกันภัยหลายครั้งรวมกันตั้งแต่
1 แสนบาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า กรณีการซื้อประกันภัย
ผ่านระบบออนไลน์ และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนผ่านระบบออนไลน์ บริษัทควรต้องปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่เกี่ยวข้องด้วย
่
ู
ส่วนที่ 7 กรณีลูกค้าไมยินยอมให้ข้อมลการแสดงตน หรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
กรณีพบว่าลูกค้าไม่ยอมให้ข้อมูลการแสดงตน หรือแจ้งข้อมูลสำคัญที่ต้องได้มาก่อนออก
กรมธรรม์ประกันภัยไม่ครบถ้วน บริษัทต้องไม่อนุมัติความสัมพันธ์
ในกรณีที่พบว่า ลูกค้าแสดงหลักฐานหรือให้ข้อมูลสำคัญไม่ถูกต้อง หรือจงใจปกปิดข้อมูล
ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า เกิดจากการปลอมแปลงหรือการใช้ข้อมูลของผู้อื่นโดยพลการ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ
การกระทำความผิดอาญาใด ๆ นอกจากบริษัทฯ ต้องไม่อนุมัติสร้างความสัมพันธ์ หรือทำธุรกรรม และ
อาจใช้ดุลยพินิจตรวจสอบ เพื่อพิจารณาส่งเป็นรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ต่อสำนักงาน ปปง. ได้
แต่ในกรณีที่ลูกค้ายังแจ้งข้อมูลประกอบอื่น ๆ ไม่ครบถ้วน (เช่น อาชีพ และสถานที่ทำงาน
เป็นต้น) บริษัทอาจพิจารณากำหนดระยะเวลาให้ลูกค้านำข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนมาแสดงภายหลังได้ แต่ไม่
ควรอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย จนกว่าจะได้รับข้อมูลการแสดงตน
ที่ครบถ้วนและถูกต้องแล้ว
ทั้งนี้ ข้อมูลอื่น ๆ ที่ได้รับไม่ครบถ้วน ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการตรวจสอบเพื่อทราบ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า เช่น บริษัทมีความจำเป็นต้องทราบถึงสถานะภาพทางการเมืองของลูกค้า
เพื่อพิจารณาในการจัดระดับความเสี่ยงสำหรับประกอบการขออนุมัติรับประกันภัย
หมายเหตุ: บริษัทควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย
เรื่อง การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง หรือตามประกาศของสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่เกี่ยวข้อง
29 ประกาศสำนักงาน ปปง. เรื่อง แนวทางในการรบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าและการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของผู้ได้รับ
ผลประโยชน์ที่แท้จริง
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567