Page 65 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 65
ห ม ว ด ที่ 4 | 57
หมวดที่ 4
การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในธุรกิจประกันวินาศภัย
(Customer Due Diligence: CDD)
ในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า บริษัทต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบาย
และระเบียบวิธีการสำหรับการประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน และ
การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ที่บริษัทกำหนดไว้ โดยหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบมีการกำหนดไว้ตามกฎหมาย ดังนี้
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 มาตรา 20/1 กำหนดให้
บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า เมื่อเริ่มทำธุรกรรมครั้งแรก และ
้
ตรวจสอบเป็นระยะจนสิ้นสุดดำเนินการเมื่อมีการปิดบัญชีหรือยุติความสัมพันธ์กับลูกคา ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนดไว้ใน “กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ.2563”
ซึ่งได้กำหนดประเภทลูกค้าที่บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง ไว้ 2 ประเภท ได้แก ่
1. ลูกค้าที่สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (ลูกค้าที่มีการทำธุรกรรมกบบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์
ั
เพื่อใช้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ปี ขึ้นไป)
2. ลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว (ลูกค้าที่มีการทำธุรกรรมกับบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อใช้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มครองไม่เกิน 1 ปี) เฉพาะกรณีที่มีการทำธุรกรรมไม่ว่าครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่ารวมกนตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป โดยการพิจารณาความต่อเนื่อง
ั
ให้พิจารณาจากการทำธุรกรรมภายใน 1 วันทำการ กรณีทำธุรกรรมแบบพบหน้า หรือภายใน 1 วัน หรือ
ภายใน 24 ชั่วโมง กรณีทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567