Page 67 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 67
ห ม ว ด ที่ 4 | 59
ส่วนที่ 1 การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากขั้นตอนการ
ี
แสดงตนของลูกค้า ตามหมวดที่ 3 และก่อนที่จะมการอนุมัติรับลูกค้า โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากการจัดให้
ลูกค้าแสดงตน มาตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า และอาจใช้เอกสาร ข้อมูล หรือข่าวสาร
จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นอกเหนือจากการขอข้อมูลจากลูกค้ามาประกอบการพิจารณาก็ได้ ทั้งนี้การ
ดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในนโยบายและระเบียบวิธีการ
ประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการ
ร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของบริษัท
บริษัทต้องมีการปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ที่ลูกค้าใช้ในการแสดงตน การระบุตัวตน และข้อมูลที่
นำมาพิจารณาในการประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงให้เป็นปัจจุบัน และต้องดำเนินการอย่าง
ต่อเนื่องจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้า ทั้งนี้ ไม่รวมถึงข้อมูลของลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็น
ครั้งคราว
เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าในระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน รวมถึงการ
ตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดหรือไม่ บริษัทอาจนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินการ
ตัวอย่าง การเชื่อมต่อระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและ
รายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด (AMLO Person Screening : APS) การจัดทำฐานข้อมูลบุคคลที่มีสถานภาพ
ทางการเมือง การกำหนดพื้นที่หรือประเทศที่มีความเสี่ยงสูง การกำหนดประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการ
รวมถึงการระบุช่องทางในการให้บริการ และนำฐานข้อมูลของปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนด เชื่อมต่อเข้ากับ
ระบบ Production ของบริษัท เพื่อให้ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท บันทึกข้อมูลการแสดงตนของผู้มา
ทำธุรกรรม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปตรวจสอบกับปัจจัยที่กำหนดไว้ และแสดงผลเพื่อประกอบการ
พิจารณาว่าจะอนุมัติรับลูกค้า ขอข้อมูลเพิ่มเติม กำหนดมาตรการการเฝ้าระวัง หรือต้องระงับ
ความสัมพนธ์และรายงานต่อสำนักงาน ปปง. รวมถึงการนำรายงานผลที่ได้มาใช้ในการประเมินและ
ั
ทบทวนแผนบริหารความเสี่ยง
กรณีการพึ่งพาบุคคลที่สามในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หมายถึง
เฉพาะกรณีที่บริษัทพึ่งพาสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ให้เป็นผู้ดำเนินการแทน
ั
ไม่รวมถึงการจัดจ้างบุคคลภายนอก หรือการจัดตั้งความสัมพนธ์ในลักษณะตัวแทน เช่น ตัวแทนประกัน
วินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย โดยในการพึ่งพานั้นบริษัทจะต้องรับรองได้ว่าบุคคลที่สาม
จะส่งข้อมูลที่จำเป็น และเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเพื่อทราบ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ได้ดำเนินการแล้ว ให้แก่บริษัทได้ทันทีเมื่อมีการร้องขอ โดยบุคคลที่สามนั้น
ต้องได้รับการกำกับดูแลและตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจอย่างเหมาะสม และกรณีที่บุคคลที่สาม
ตั้งและดำเนินการอยู่ต่างประเทศ บริษัทต้องนำระดับความเสี่ยงของประเทศนั้นมาประกอบการ
พิจารณาความน่าเชื่อถือของบุคคลที่สามด้วย
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567