Page 22 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 22

14 |

                     ขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้าน
              การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

              ซึ่งบริษัทสามารถกำหนดได้ ดังนี้
                     1.  เพื่อให้บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่
              การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ

              สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย
                     2.  เพื่อรักษาชื่อเสียง ปกป้องภาพลักษณ์ และเสริมสร้างธรรมาภิบาลของบริษัท
                     3.  เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงาน การบริหารจัดการ และการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
              และปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ
              ทำลายล้างสูง

              2.  การระบุความเสี่ยง























                                              แผนภาพที่ 1.3 การระบุความเสี่ยง

                     การระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และ

              การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง 2 ประเภท ตามที่กำหนดและนิยาม
              ในประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
              ในการกำกับการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม และการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท
              ประกันวินาศภัย พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

                     1.  ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหายต่อบริษัท อันเนื่องมาจากการ
                         เสื่อมเสียชื่อเสียงเนื่องจากลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และ/หรือหน่วยงานกำกับดูแล ที่มีมุมมองภาพลักษณ์
                         ต่อบริษัทในแง่ลบ
                     2.  ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการ

                         กำกับดูแลกิจการที่ดี ขาดธรรมาภิบาลในองค์กร หรือขาดการควบคุมที่ดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
                         ปฏิบัติงานภายใน บุคลากร ระบบงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความปลอดภัยของข้อมูล หรือ
                         เหตุการณ์ภายนอก

                     ในการระบุความเสี่ยงนั้น ควรต้องมีการระบุที่มาของความเสี่ยงนั้นด้วย เพื่อให้การกำหนดมาตรการ
              ในการบริหารความเสี่ยง (การตอบสนองความเสี่ยง) สามารถจะป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงได้ถูกประเด็น
              นอกจากนี้แล้ว ยังต้องระบุความเสี่ยงในมุมขององค์กรและของลูกค้าควบคู่กัน



                  แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
                           การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27