Page 26 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 26
18 |
ตารางที่ 1.5 ตัวอย่างการตอบสนองความเสี่ยงลูกค้า
ปัจจัยความเสี่ยง ระดับ ปัจจัยความเสี่ยง ระดับ มาตรการ
(1) – ประเภทของ ความเสี่ยง (2) – ประเภทของ ความเสี่ยง
ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า
ลูกค้าที่ทำธุรกรรม ต่ำ อนุมัติรับลูกค้า
เป็นครั้งคราว
ประกันวินาศภัยทุก ต่ำ ลูกค้าที่สร้าง ดำเนินการตามนโยบายและ
ประเภท
ความสัมพันธ์ ปานกลาง กระบวนการที่บริษัทกำหนด
ทางธุรกิจ ก่อนอนุมัติรับลูกค้า
5. การติดตามความเสี่ยง
แผนภาพที่ 1.6 การติดตามความเสี่ยง
การติดตามความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการติดตามผลการบริหารความเสี่ยงเพื่อรายงานให้กับผู้บริหารและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ว่าบริษัทสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนทาง
การเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่
มีเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นที่เป็นการฝ่าฝืนนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่บริษัทได้กำหนดไว้และเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
รวมทั้งบทกำหนดโทษได้ระบุไว้อย่างไร
บริษัทควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้พัฒนาการดำเนินการในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
เช่น การกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพมเติม และการเพิ่มความถี่ในการดำเนินมาตรการที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ิ่
ส่วนที่ 4 การบริหารความเสี่ยงสำหรับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม (Know Your Customer)
บริษัทต้องมีการบริหารความเสี่ยงสำหรับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม ดังนี้
4.1 การกำหนดวัตถุประสงค์
เพื่อให้บริษัทมีกระบวนการในการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย และช่วยให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้อยู่ใน
ระดับที่ยอมรับได้
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1