Page 28 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 28
20 |
ระดับความเสี่ยง
ประเภทลูกค้า
ต่ำ ปานกลาง สูง
ผู้ที่ชำระค่าเบี้ยประกันภัย
• ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย √
• ผู้ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย √
4.4 การตอบสนองความเสี่ยง
เมื่อบริษัทสามารถจำแนกประเภทของลูกค้าตามระดับความเสี่ยงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการกำหนด
ว่าลูกค้าแต่ละประเภทที่ถูกจำแนกนั้น กลุ่มใดไม่จัดอยู่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และจำเป็นต้องมีการแสดงตน
ตามข้อกำหนดของกฎหมาย รวมถึงระบุข้อมูล เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงตน จากนั้นจึงดำเนินการ
รวบรวมเอกสารหลักฐานประกอบการแสดงตนให้ถูกต้องและครบถ้วน และพิสูจน์ทราบข้อมูลการแสดงตนหากมี
ความจำเป็น
ตารางที่ 1.7 ตัวอย่างการตอบสนองความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยง (ดูรายละเอียดในหมวดที่ 4)
ประเภทลูกค้า ผู้ที่ต้องแสดงตน
ผู้เอาประกันภัย • ผู้เอาประกันภัยที่ทำสัญญาประกันวินาศภัยที่มีความคุ้มครอง
เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป
• ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว
(ผู้เอาประกันภัยที่ทำสัญญาประกันวินาศภัยที่มีความคุ้มครอง
ไม่เกิน 1 ปี) และมีมูลค่าเบี้ยประกันภัย (ครั้งเดียวหรือหลาย
ครั้งรวมกัน) ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป
ผู้ที่ชำระค่าเบี้ยประกันภัย • ผู้ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย
ผู้ที่รับค่าสินไหมทดแทน • ผู้ที่รับค่าสินไหมทดแทนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป
่
ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งได้แก
1) ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือ
2) บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย และมีสิทธิได้รับ
ค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย
ลูกค้าที่สร้างความสัมพันธ์โดย • ต้องแสดงตน เว้นแต่ได้เคยมีการแสดงตนไว้แล้ว
การทำสัญญาอื่น ๆ ที่มิใช่ธุรกิจ
ประกันภัย
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1