Page 27 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 27
ห ม ว ด ที่ 1 | 19
ในกรณีที่เป็นลูกค้าผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว ซึ่งไม่ต้องมีการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อน
การทำธุรกรรม บริษัทยังต้องมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อตรวจสอบว่าเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
หรือเป็นลูกค้าผู้กระทำความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือไม่ ซึ่งหาก
เข้าข่ายกรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัทต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน หรือจัดหาข้อมูลแสดงตนจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และ
้
ดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกคาตามที่กฎหมายกำหนด
4.2 การระบุความเสี่ยง
ความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม ประกอบด้วย
4.2.1 การไม่ทราบข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม
ที่ถูกต้องครบถ้วน
4.2.2 การไม่กำหนดกระบวนการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำ
ธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ
ู
4.2.3 การจำแนกประเภทของลูกค้าและความเสี่ยงไม่ถกต้องเหมาะสม
4.2.4 การไม่ดำเนินการตามกระบวนการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อน
การทำธุรกรรมอย่างถูกต้องครบถ้วน
สำหรับความเสี่ยงลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม เกี่ยวข้องกับปัจจัย
ความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ประเภทลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง สถานภาพทางกฎหมายของลูกค้า ลักษณะ
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
4.3 การประเมินความเสี่ยง
บริษัทต้องมีการประเมินความเสี่ยงองค์กรว่ามีมากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเสี่ยงลูกค้า
จากปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ และจำแนกประเภทของลูกค้า เพื่อพิจารณาว่าลูกค้าแต่ละประเภทที่ถูกจำแนกนั้น
มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และกำหนดหลักเกณฑ์การแสดงตนของลูกค้าให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงแต่ละกลุ่ม
ตารางที่ 1.6 ตัวอย่างการกำหนดระดับความเสี่ยงลูกค้าโดยใช้ปัจจัยความเสี่ยงด้านลูกค้า
ระดับความเสี่ยง
ประเภทลูกค้า
ต่ำ ปานกลาง สูง
ผู้เอาประกันภัย
• ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว (ผู้เอาประกันภัย √
ที่ทำสัญญาประกันวินาศภัยที่มีความคุ้มครองไม่เกิน 1 ปี)
• ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว และมีมูลค่า
เบี้ยประกันภัย (ครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกัน) ไม่เกิน √
100,000 บาท
• ผู้เอาประกันภัยที่ทำสัญญาประกันวินาศภัยที่มีความคุ้มครอง
เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป √
• ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว และมีมูลค่า
เบี้ยประกันภัย (ครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกัน) ตั้งแต่ 100,000 บาท
ขึ้นไป √
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567