Page 31 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 31
ห ม ว ด ที่ 1 | 23
บริษัทต้องมีการบริหารความเสี่ยงสำหรับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง ดังนี้
5.1 การกำหนดวัตถุประสงค์
เพื่อให้บริษัทมีกระบวนการในการตรวจสอบเพอทราบข้อเท็จจริงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ื่
สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย และช่วยให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในระดับ
ที่ยอมรับได้
5.2 การระบุความเสี่ยง
ความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย
5.2.1 การไม่ทราบข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงอย่าง
ครบถ้วนถูกต้อง
5.2.2 การไม่กำหนดกระบวนการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง
ที่มีประสิทธิภาพ
ู
5.2.3 การจำแนกประเภทของลูกค้าและความเสี่ยงไม่ถกต้องเหมาะสม
5.2.4 การไม่ดำเนินการตามกระบวนการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบ
ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องครบถ้วน
สำหรับความเสี่ยงลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวข้องกับปัจจัยความเสี่ยง
เกี่ยวกับลูกค้า และปัจจัยความเสี่ยงด้านธุรกรรม อาทิ เงื่อนไขในการทำธุรกรรม มูลค่าของการทำธุรกรรม และ
ลักษณะของการทำธุรกรรม รวมถึงปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น พื้นที่หรือประเทศ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และ
ช่องทางการให้บริการ
5.3 การประเมินความเสี่ยง
บริษัทต้องมีการประเมินความเสี่ยงองค์กรว่ามีมากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเสี่ยงลูกค้า
จากปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ควบคู่กัน
ตารางที่ 1.9 ตัวอย่างการกำหนดระดับความเสี่ยงลูกค้าโดยใช้ปัจจัยความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์/บริการ
ระดับความเสี่ยง
ผลิตภัณฑ์/บริการ
ต่ำ ปานกลาง สูง
ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย √
ผลิตภัณฑ์ประกันภัยกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง √
หรือเพื่อเยียวยาความเสียหาย
ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถให้ รับ หรือเปลี่ยนเป็นเงินสด √
ได้ในจำนวนเงินที่สูง
ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นได้ √
สะดวก รวดเร็ว
ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถใช้หรือนำไปใช้ในต่างประเทศได้ √
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567