Page 36 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 36
28 |
5.5 การติดตามความเสี่ยง
การดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทควรมีการตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงข้อมูลลูกค้าและผู้รับผลประโยชน์ให้เป็นปัจจุบัน และปรับปรุงระดับ
้
ความเสี่ยงตามผลการตรวจสอบข้อมูลลูกคาและผลการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรม
หรือการดำเนินความสัมพันธ์ มีการกำหนดขั้นตอน กระบวนการในการรายงานผู้บริหารในกรณีมีการปรับปรุง
ระดับความเสี่ยง และบันทึกข้อมูลการบริหารความเสี่ยงแต่ละครั้ง แต่ละราย เพอเป็นข้อมูลทางสถิติและการ
ื่
ตรวจสอบติดตามในอนาคต
ในกรณีที่มีการปรับเป็นระดับความเสี่ยงต่ำ บริษัทควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้อนุมัติการปรับลดระดับความเสี่ยงตามผล
การตรวจทานข้อมูลในกระบวนการตรวจสอบ
(2) ลดระดับความเข้มข้นในการขอข้อมูลการระบุตัวตน โดยพิจารณาจากประเภท
ของลูกค้า ประเภทของธุรกรรม มูลค่าของธุรกรรม และความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือ
การดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
(3) ลดระดับความเข้มข้นในการตรวจสอบและตรวจทานความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการ
ดำเนินความสัมพันธ์กับลูกค้า
(4) ลดระดับความเข้มข้นในการตรวจทานข้อมูลปัจจุบันของลูกค้า
ในกรณีที่มีการปรับเป็นระดับความเสี่ยงสูง บริษัทควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้อนุมัติปรับเพิ่มระดับความเสี่ยงตามผลการตรวจทาน
ข้อมูลในกระบวนการตรวจสอบ
(2) พิจารณาเพิ่มความถี่ ขั้นตอน หรือลักษณะในการติดตามความสัมพันธ์ทางธุรกิจและ
ความเคลื่อนไหวในการทำธุรกรรม และเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบและตรวจทานข้อมูล
การระบุตัวตนและผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้าและดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ
ในกรณีที่มีการปรับเป็นระดับความเสี่ยงสูงมาก และการสร้างความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมกับลูกค้า
รายนั้นอาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงต่อการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างร้ายแรง
บริษัทอาจพิจารณาปฏิเสธการรับลูกค้าและอาจใช้ดุลยพินิจตรวจสอบ เพื่อพิจารณาส่งเป็นรายงานธุรกรรม
ที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง.
ในกรณีที่เป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน นอกจากการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยไปยังสำนักงาน
ปปง. แล้ว บริษัทควรมีหนังสือแจ้งต่อสำนักงาน คปภ. โดยแนบสำเนารายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ของลูกค้ารายดังกล่าวด้วย เพื่อป้องกันการถูกร้องเรียนว่าบริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1