Page 39 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 39

ห ม ว ด ที่   2  | 31

                                                        หมวดที่ 2

                   การรายงานธุรกรรมและการแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


                                                                           2
              ส่วนที่ 1  บริษัทประกันวินาศภัยต้องจัดทำรายงานและแจ้งข้อมูลใดบ้าง
                                                                                   3
                     1.  บริษัทมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อไปนี้ ต่อสำนักงาน ปปง.
                       1.1  รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสดตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

                              หมายถึง รายงานธุรกรรมที่เป็นการรับเงินสดหรือจ่ายเงินสด ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาประกัน
              วินาศภัยระหว่างลูกค้ากับบริษัทที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป เช่น การรับค่าเบี้ยประกันภัย การจ่ายคืนค่าเบี้ย
              ประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน

                              โดยกรณีหากมีการประกอบธุรกิจอื่น เช่น การให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกัน
              ก็ให้หมายถึง การรับเงินสด หรือจ่ายเงินสด ที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืม (หากอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองมีมูลค่า
              ราคาประเมินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปก็ต้องพิจารณารายงานธุรกรรมที่ใช้ทรัพย์สินด้วย)
                       1.2  รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป

                              หมายถึง รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ที่นอกเหนือจากธุรกรรมการชดใช้ค่าสินไหม
              ทดแทนตามสัญญาประกันวินาศภัย ตามข้อ 1.3
                              ด้วยบริษัทอาจมีการประกอบธุรกิจอื่นได้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม
              การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อนุญาตตามประกาศ คปภ. เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท

              ประกันวินาศภัย ปี 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น อาจมีกรณีที่บริษัทจะต้องรายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับ
              ทรัพย์สินต่อสำนักงาน ปปง. ตัวอย่างเช่น ในหมวด 4 ส่วนที่ 8 ข้อ 54(จ) การให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์
              ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนองเป็นประกัน ถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีมูลค่าตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (พิจารณาจาก
              ราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนเงินที่ให้กู้ยืม) บริษัทต้องรายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับ

              ทรัพย์สินดังกล่าวต่อสำนักงาน ปปง. ด้วย
                       1.3  รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
                              หมายถึง รายงานธุรกรรมการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันวินาศภัย ที่คาดว่า

              จะต้องจ่ายตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีการเกิดวินาศภัยขึ้นแล้ว โดยให้ใช้
              ราคาประเมิน ณ วันเกิดเหตุก่อนหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น หรือก่อนหักมูลค่าอื่นใดตามสัญญาประกัน
              วินาศภัย ทั้งนี้ ให้ถือค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้นต่อการเกดวินาศภัยหนึ่งครั้ง
                                                             ิ
                         ตัวอย่างเช่น บริษัทมีการประมาณการค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะจ่าย 11 ล้านบาท จะต้องทำ
              การรายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน แม้ว่าเมื่อจ่ายจริง จะจ่ายไม่ถึง 10 ล้านบาทก็ตาม แต่ถ้าหากประมาณ

              การค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะจ่าย 9 ล้านบาท ขณะประมาณการจะยังไม่ต้องรายงาน แต่เมื่อมีการจ่ายจริง
              โดยจ่ายมากกว่า 10 ล้านบาท จะต้องรายงานเมื่อมีการจ่าย
                         หมายเหตุ กรณีที่บริษัทซื้อ/ขายทรัพย์สิน บริษัทไม่มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน

              ปปง. เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่บริษัททำกับบุคคลภายนอกในฐานะที่เป็นลูกค้าของบุคคลภายนอก




              2  กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการ
              ฟอกเงิน พ.ศ.2559 ฉบับลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559
              3  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 13

                                          คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
                                                        ตุลาคม 2567
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44