Page 40 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 40
32 |
1.4 รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย หมายถึง รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
1.4.1 กระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน หรือ
1.4.2 ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน หรือการ
สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และให้หมายความรวมถึง
การพยายามทำธุรกรรมดังกล่าวด้วย
บริษัทมีหน้าที่ต้องตรวจสอบการทำประกันภัยของลูกค้าว่ามีความผิดปกติ หรือการทำ
ประกันภัยนั้น สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของลูกค้าหรือไม่ (ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายและ
แนวทางปฏิบัติของแต่ละบริษัท) ถ้ามีเหตุอันเชื่อได้ว่าผิดปกติหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
ต้องรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยไม่ต้องคำนึงถึงมูลค่าของธุรกรรมว่าจะเป็นเท่าใด
สำหรับบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจอื่นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คปภ. เช่น การให้กู้ยืม
โดยมีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกัน และการให้กู้ยืมนั้นมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้
ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ บังคับกฎหมายว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ
ทำลายล้างสูง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน ก็จะต้องรายงานธุรกรรมที่มี
เหตุอันควรสงสัยด้วย
หมายเหตุ: แม้ว่าบริษัทจะมีการรายงานธุรกรรมตามข้อ 1.1 ข้อ 1.2 ข้อ 1.3 ไปแล้วก็ตาม แต่หากกรณี
ั
ธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย บริษัทมีหน้าที่ต้องจัดทำ และส่งรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอนควร
สงสัยแยกต่างหากอีกหนึ่งรายงาน
ตัวอย่าง แนวทางที่เป็นข้อสังเกตในการพิจารณาธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
1. กรณีที่ลูกค้าขอทำสัญญาประกันวินาศภัยในทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงผิดปกติ โดยพยายาม
หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของทรัพย์สิน
2. กรณีลูกค้ารายหนึ่งรายใดขอทำสัญญาประกันวินาศภัยในทรัพย์สินจำนวนมาก โดยพยายาม
หลีกเลี่ยงไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับฐานะหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3. กรณีบริษัทตรวจสอบพบก่อนออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือตรวจพบในภายหลังว่า
ลูกค้า หรือผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มี
อานุภาพทำลายล้างสูง หรือมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือเป็นบุคคลที่มีการกระทำความผิดตามที่
หน่วยงานของรัฐแจ้งรายชื่อไว้ หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือขอให้ทรัพย์สินตกเป็น
ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
4. กรณีที่มีการแจ้งเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์เป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย
5. กรณีที่มีการขอทำประกันภัยทรัพย์สินโดยมีมูลค่าความคุ้มครองสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของ
ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก (แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้รับประกันภัยก็ตาม)
1.5 รายงานธุรกรรมที่ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
ตามมาตรา 21/2 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หมายถึง เป็นการรายงาน
ธุรกรรมที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้ บริษัทมีหน้าที่รายงานให้
สำนักงาน ปปง. ทราบโดยทันที ทั้งนี้ คำว่า “ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้”
หมายความว่า การที่บริษัทพบว่าไม่สามารถตรวจสอบ หรือดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูลการตรวจสอบเพื่อทราบ
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1