Page 43 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 43
ห ม ว ด ที่ 2 | 35
การทำธุรกรรมที่เห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินไว้ก่อน
5
ได้ไม่เกิน 10 วันทำการ
1.6 รายงานการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ถูกกำหนดที่ถูกประกาศภายใต้บังคับกฎหมายว่า
ด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยาย
6
อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง บริษัทต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกกำหนดต่อไปนี้ต่อสำนักงาน ปปง.
กรณีบริษัทมีผู้เอาประกันภัย ผู้ชำระค่าเบี้ยประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
้
หรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้รับมอบอำนาจจากลูกค้า กรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลที่เป็นลูกคา หรือผู้เกี่ยวกับบุคคล
ดังกล่าวเป็นผู้ถูกกำหนดบริษัทต้องดำเนินการแจ้งข้อมูลต่อสำนักงาน ปปง. ดังนี้
ู
1. แจ้งข้อมูลเมื่อตรวจสอบพบว่าผู้ประสงค์จะทำธุรกรรมกับบริษัทเป็นบุคคลที่ถกกำหนด
2. แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด ซึ่งบริษัทมีการระงับการดำเนินการ
เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายคืน ค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ
3. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้า ซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด หรือผู้ที่มีหรือเคยมีการทำ
ธุรกรรมกับผู้นั้น โดยให้ตรวจสอบย้อนหลังภายในกำหนด 2 ปี ก่อนวันที่ได้มีคำสั่งให้ผู้นั้นเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด
หมายเหตุ: กรณีที่บริษัทมีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกกำหนดตามข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้นแล้ว
ต้องมีการยื่นรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยด้วยทุกครั้ง เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน มาตรา 13 ระบุว่า “ถ้าพบว่าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน
หรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ต้องรายงาน
ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง.
2. ธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงาน
7
2.1 ธุรกรรมที่ทำกับบุคคล หรือองค์กรต่อไปนี้
2.1.1 พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระรัชทายาท หรือพระบรมวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์
เจ้าขึ้นไปจนถึงชั้นเจ้าฟ้า
2.1.2 รัฐบาล ราชการส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค/ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ
2.1.3 มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ มูลนิธิสายใจไทย
2.2 ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ นอกเหนือจากยานพาหนะ เครื่องมือ
หรือเครื่องจักรกลอื่นใด
หมายเหตุ: ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับการยกเว้น
2.3 การทำสัญญาประกันภัย การรับประกันภัยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีทุนประกันเท่าใดก็ตาม
ไม่ต้องรายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน
5 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 21/2
6 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559
มาตรา 6 มาตรา 15 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการประกาศและการแจ้งรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดและการ
ดำเนินการตามมาตรา 6 (1) (2) (3) พ.ศ. 2558 ข้อ 6 และประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 6 (2) และ (3) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2559
7 กฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2543) เรื่อง กำหนดธุรกรรมที่ยกเว้นไม่ต้องรายงาน
คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
ตุลาคม 2567