Page 30 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 30

22 |

                     เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าแล้ว บริษัทจะต้องตรวจสอบถึงความครบถ้วนถูกต้องของ
              ข้อมูลที่ลูกค้าแจ้งแก่บริษัท เพื่อให้บริษัททราบในประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

                         1)  ลูกค้าที่เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมายนั้น มีตัวตนอยู่จริง
                         2)  วัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์หรือการทำธุรกรรมแบบครั้งคราว มีความสอดคล้องกับ
                            ข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าหรือผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว

                         3)  ข้อมูลการแสดงตนที่บริษัทได้รับมานั้น เพียงพอต่อการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและ
                            ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามที่กฎหมายกำหนด

                     4.5  การติดตามความเสี่ยง
                                                                                                 ื่
                           บริษัทต้องมีการติดตามข้อมูลลูกค้าและปรับปรุงให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพอให้สามารถ
              นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการทบทวนการจัดระดับความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติตามกระบวนการบริหาร
              ความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้


                ส่วนที่ 5 การบริหารความเสี่ยงสำหรับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง (Customer Due Diligence)
                     การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า เป็นกระบวนการต่อจากการจัดให้ลูกค้าแสดงตนซึ่ง
              ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการอนุมัติการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว

              โดยในการอนุมัติรับลูกค้าต้องมีการประเมินความต้องการข้อมูลเบื้องต้น เพื่อระบุตัวตนของลูกค้า (Customer
              Identification) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้านั้นมีตัวตนอยู่จริงและเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าของข้อมูล วัตถุประสงค์ของ
              การทำธุรกรรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลการแสดงตน และข้อมูลรวมถึงหลักฐานต่าง ๆ มีความน่าเชื่อถือ
                     นอกจากนี้ บริษัทยังต้องพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า (Customer Verification) โดยการตรวจสอบความ

              ครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลและหลักฐานการแสดงตนกับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รวมถึงฐานข้อมูลรายชื่อที่เสี่ยงต่อ
              การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
              ก่อนที่จะอนุมัติสร้างความสัมพันธ์หรือทำธุรกรรม ดังนี้
                     1.  รายชื่อบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือ องค์การ ซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรี

              ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำเป็นการกอการร้าย
                                                                       ่
                     2.  บุคคลที่ถูกกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
              การก่อการร้าย

                         2.1  บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง
                              บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าให้แล้วเสร็จก่อนที่จะเริ่ม
              สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าเป็นครั้งแรก และตรวจสอบเป็นระยะจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
              กับลูกค้า ในกรณีลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว บริษัทจะต้องตรวจสอบเมื่อมีการทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว
              ไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป และตรวจสอบเป็นระยะจนกว่า

              จะยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า
                              นอกจากนี้แล้ว บริษัทยังต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
              เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าลูกค้ามีส่วนร่วมหรือมีการดำเนินการที่อาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุน

              ทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลการระบุตัวตนของลูกค้าหรือระบุตัวผู้ได้รับ
              ผลประโยชน์ที่แท้จริงได้รับมาว่ามีความถูกต้องหรือไม่



                  แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
                           การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35