Page 163 - InsuranceHandbook
P. 163

144   คู่มือประกันวินาศภัยไทย
             Thai General Insurance Handbook



                     6. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดการกำกับดูแล
              หรือขาดการควบคุมที่เพียงพอและเหมาะสมของกระบวนการภายในบริษัท บุคลากรของบริษัท ระบบงานหรือ
              ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้

                                                        ั
              ความเชี่ยวชาญ การหมุนเวียนของพนักงานในอตราที่สูง การไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย การฉ้อฉล
              การขัดข้องหรือหยุดชะงักของระบบงาน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้บริการจากบุคคลภายนอก

                     7. ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วน

                                               ์
              เสียหรือมุมมองสาธารณะต่อภาพลักษณ แบรนด์ หรือชื่อเสียงของบริษัทในเชิงลบ เช่น พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ
              ผู้บริหาร คุณภาพของสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐาน การรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า

                     8. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิด

                                                             ึ
              จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ รวมถงความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การขาด
                                  ี
              แคลนระบบเทคโนโลยสารสนเทศที่สามารถสนับสนุนการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ การรั่วไหลของข้อมูล
              การหยุดชะงักของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจากการโจมตีทางไซเบอร์


                     9. ความเสี่ยงด้านมหันตภัย (Catastrophe Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการจ่าย
                               ี
                                                                                ่
              ค่าสินไหมทดแทนเบยงเบนไปจากที่ได้มีการคาดการณ์ไว้เป็นอย่างมาก เช่น แผนดินไหว มหาอุทกภัย โรคระบาด
                               ่
              ความเสี่ยงด้านมหันตภัยถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงด้านประกันภัยซึ่งมีการเบี่ยงเบนของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระดับที่
              สูงมาก

                     10. ความเสี่ยงภายในกลุ่มธุรกิจ (Group Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่บริษัทอาจได้รับผลกระทบเชิงลบ
              จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับบริษัทที่อยู่ภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน


                                                                 ึ
                     11. ความเสี่ยงอบัติใหม่ (Emerging Risk) หมายถง ความเสี่ยงที่ยังไม่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันแต่อาจจะ
                                    ุ
              เกิดขึ้นได้ในอนาคตเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
              ความเสี่ยงประเภทนี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ยากที่จะระบุได้ มีความถี่ของการเกิดต่ำ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะสงผลกระทบ
                                                                                                   ่
              อย่างรุนแรง


                     ความเสี่ยงอบัติใหม่ถือเป็นความเสี่ยงที่ยากต่อการบริหารจัดการและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
                               ุ
              เนื่องจากเป็นความเสี่ยงที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยเหตุนี้ การติดตามและวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงทาง

              เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพอให้ทราบถึงพฒนาการของการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นสิ่ง
                                                                          ั
                                                              ื่
              สำคัญ
                            ่
                     การแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้น ถือเป็นตัวอย่างของความเสี่ยง
                                                                                            ่
              อุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก ระบบเศรษฐกิจไทย และธุรกิจประกันภัยไทยอยางรุนแรง
                     ตัวอย่างของความเสี่ยงอบัติใหม่ที่บริษัทประกันภัยควรให้ความสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะ
                                         ุ
              ภูมิอากาศ ความม่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัญญาประดิษฐ์และควอนตัมเทคโนโลยี เสถียรภาพทางภูมิรัฐศาสตร์
                              ั
              เศรษฐกิจมหภาค โรคระบาดและโรคติดต่อ เป็นต้น








                                                               ํ
                                                             ้
                                      ิ
                                       ์
                                   ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
                                    ิ
                                                    ิ
                                                        ั
                                       ิ
                                                  ั
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168