Page 14 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 14
6 |
ส่วนที่ 3 นโยบายและระเบียบที่บริษัทต้องจัดทำ
1. นโยบายหลัก
หมายถึง นโยบายที่กำหนดสาระสำคัญซึ่งแสดงว่าบริษัทมีการจัดให้วัตถุประสงค์ในการป้องกัน
การฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ
ทำลายล้างสูง เป็นวัตถุประสงค์หลักที่ต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงกำหนดการ
ดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้
1.1 ต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการรับรองโดยคณะผู้บริหารสูงสุดหรือคณะกรรมการของบริษัท ที่มี
อำนาจและรับผิดชอบในการวางแผนการกำกับ หรือมีการควบคุมกิจกรรมรวมถึงการจัดการและ
การบริหารงานของบริษัท
1.2 สาระสำคัญที่กำหนดในนโยบายต้องประเมินมาจากความเสี่ยงในองค์กร โดยนำปัจจัย
ความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้า พื้นที่่หรือประเทศ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือช่องทางในการ
ให้บริการมาประกอบการพิจารณาความเสี่ยงและมีการกำหนดให้มีการจัดทำนโยบายรองต่าง ๆ
เช่น การสนับสนุนและพร้อมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อ
การร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 การดำเนินกระบวนการ
ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงการรายงานธุรกรรม และ
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายดังกล่าวอย่างครบถ้วน เป็นต้น
1.3 ได้รับการทบทวนเป็นระยะ และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2. นโยบายรอง
หมายถึง มาตรการ และ/หรือประกาศ และ/หรือระเบียบ และ/หรือคู่มือ ที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้อง
กับรูปแบบธุรกิจ โครงสร้าง ประเภทผลิตภัณฑ์ประกันภัย การบริการ และกลุ่มลูกค้า โดยอ้างองตาม
ิ
นโยบายหลักประกอบกับผลการประเมินและบริหารความเสี่ยงตามรายงานการประเมินความเสี่ยง
ระดับชาติที่สำนักงาน ปปง. จัดทำขึ้นซึ่งออกโดยคณะผู้บริหารสูงสุดของบริษัท หรือคณะผู้บริหารที่มี
อำนาจในการออกนโยบายรองดังกล่าว ซึ่งระบุรายละเอียดและขั้นตอน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติภายใน
ของบริษัทที่มีผลบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ต่อไปนี้
2.1 นโยบายรับลูกค้า
2.1.1 กำหนดวิธีการรับลูกค้าของบริษัทโดยไม่ขัดต่อประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ฉบับ
ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างน้อย ดังนี้
(1) วิธีปฏิบัติในการจัดให้ลูกค้าแสดงตน โดยระบุประเภทข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน
ที่ลูกค้าต้องแสดงหรือให้แก่บริษัท ประเภทแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องกรอก
วิธีการกรอก และแนะนำวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าในกรณีต่าง ๆ เช่น
1) ลูกค้าที่เคยสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทมาก่อน
2) ลูกค้าที่เป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือพิการ
3) ลูกค้าที่ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
(2) วิธีปฏิบัติในการระบุตัวตนของลูกค้า โดยระบุถึงวิธีการตรวจสอบข้อมูลการ
ประเมินผลเบื้องต้น เพื่อพิจารณาการขอข้อมูลเพิ่มเติม วิธีการตรวจสอบกับข้อมูล
รายชื่อตามที่กฎหมายกำหนด และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เช่น
ิ่
1) กรณีต้องขอข้อมูลลูกค้าเพมเติมเนื่องจากพบปัจจัยความเสี่ยงบางประการ
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1