Page 9 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 9

ั
                                                                                        ว ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์  | 1

                                                      วัตถุประสงค์


                     บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ถือเป็น “สถาบันการเงิน” ตาม
              พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ดังนั้น จึงมีหน้าที่ปฏิบัติตาม
              พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
              การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 ซึ่งแม้
              โดยลักษณะของประเภทผลิตภัณฑ์ประกันภัยจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งฟอกเงินต่ำกว่าสถาบันการเงิน

              ประเภทอื่น แต่ก็ยังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ได้แก่ กรณีที่ผู้กระทำความผิดมูลฐาน
              นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย หรือนำทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
              มาทำประกันภัย ทำให้บริษัทอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดภัยตามที่กำหนดไว้ใน

              กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดโดยถูกต้องจะทำให้บริษัททราบถึงตัวตนของลูกค้าและ
              สามารถระบุหรือพิสูจน์ทราบได้กรณีหากมีผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ก่อการร้ายหรือ
              ผู้เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด รวมถึงจะเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบเมื่อสำนักงานป้องกันและ
              ปราบปรามการฟอกเงินร้องขอให้มีการตรวจสอบข้อมูลลับเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลธุรกรรมที่

              เกี่ยวข้องกับการเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลที่อยู่ในขั้นตอนพิจารณา หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม
                                         ั
              กระบวนการของสำนักงานป้องกนและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงการที่ภาครัฐสามารถตรวจพบและยึด หรือ
              ทำให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต่อไป
                     เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยมีแนวทางในการปฏิบัติงานชัดเจนในระดับธุรกรรมของบริษัทประกัน

              วินาศภัย โดยเฉพาะให้มีความถูกต้องทั้งในด้านการรายงานธุรกรรม การจัดให้ลูกค้าแสดงตน การบริหาร
              ความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ
              ทำลายล้างสูง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า การจัดเก็บเอกสาร การห้ามเปิดเผยข้อมูล
              แก่บุคคลภายนอก ตลอดจนถึงการจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเรื่อง

              การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การตรวจสอบบุคคลที่ถูกกำหนด การระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน
              ของบุคคลที่ถูกกำหนด และการแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สมาคมประกันวินาศ
              ภัยไทย โดยคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ จึงได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกัน

              และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก     ่
              การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 เผยแพร่ให้บริษัทสมาชิกเมื่อเดือน
              มีนาคม 2560 เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง
              อุตสาหกรรม
                     อย่างไรก็ตาม ในระหว่างปี พ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2567) ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ

              ที่เกี่ยวข้องในหลายส่วน ประกอบด้วย
                     1)  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฉบับที่ 6 พ.ศ.2565 เพิ่มเติม
                     2)  มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ และประกาศใช้กฎหมายลำดับรองหลายฉบับ

                     3)  รายงานผลการประเมินความเสี่ยงระดับชาติ ด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่
                         การก่อการร้ายของประเทศไทย พ.ศ.2559 (NRA) ระบุให้ระดับความเสี่ยงที่ธุรกิจประกันวินาศภัย
                         จะถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ
                     4)  มีการประกาศใช้แนวทางปฏิบัติเรื่อง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า สำหรับ

                         สถาบันการเงิน ประเภทผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย เมื่อเดือนเมษายน 2567



                                          คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
                                                        ตุลาคม 2567
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14