Page 10 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 10

2 |
                     ดังนั้น เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และแนวปฏิบัติ

              ที่เปลี่ยนแปลงไป สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ จึงได้ทำการปรับปรุง
              แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติ
              ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

              พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยขึ้น โดยเป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องให้ใช้เป็นแนวทาง
              ในการปฏิบัติงานบนมาตรฐานการปฏิบัติงานเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย

                          ื
                     ในคู่มอฉบับนี้
                     “ปปง.”            หมายถึง  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

                     “ปกร.”            หมายถึง  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน
                                                แก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
                                                พ.ศ.2559

                     “สำนักงาน ปปง.”  หมายถึง  สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
                     “สำนักงาน คปภ.”  หมายถึง  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
                     “บริษัท”          หมายถึง  บริษัทประกันวินาศภัย
                     “ลูกค้า”          หมายถึง  บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย

                                                ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมกับบริษัท
                     “ความสัมพันธ์ทาง หมายถึง  การทำธุรกรรมระหว่างลูกค้าฝ่ายหนึ่งกับบริษัทอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมี
                     ธุรกิจ”                    วัตถุประสงค์เพื่อใช้บริการทางการเงิน ทางธุรกิจ ทางการค้า หรือ
                                                ทางวิชาชีพของบริษัทอย่างต่อเนื่องหรือในช่วงระยะเวลาที่ตกลงกัน

                     “ธุรกรรมเป็นครั้ง หมายถึง  การทำธุรกรรมระหว่างลูกค้าฝ่ายหนึ่งกับบริษัท อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมี
                     คราว”                      วัตถุประสงค์เพื่อใช้บริการทางการเงิน ทางธุรกิจ ทางการค้า หรือ
                                                ทางวิชาชีพของบริษัทเป็นรายครั้งโดยไม่ได้มุ่งหมายที่จะสร้าง
                                                ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

                     “บุคคลที่มีการ     หมายถึง  บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งตกลงกันทางกฎหมายให้เป็น
                     ตกลงกันทาง                 ผู้ครอบครอง ใช้ จำหน่าย หรือบริหารจัดการทรัพย์สิน ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ
                     กฎหมาย”                    เพื่อประโยชน์ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง

                     “ผู้ได้รับ        หมายถึง  บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือมีอำนาจควบคุมความสัมพันธ์
                     ผลประโยชน์ที่              ทางธุรกิจของลูกค้ากับบริษัท หรือบุคคลที่ลูกค้าทำธุรกรรมแทน รวมถึง
                     แท้จริง”                   บุคคลผู้ใช้อำนาจควบคุมนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงกันทาง
                                                กฎหมาย
                     “บุคคลที่มี       หมายถึง  ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวในประเทศหรือ

                     สถานภาพทาง                 ต่างประเทศ ได้แก่ ประมุขแห่งรัฐหรือรัฐบาล รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่
                     การเมือง”                  ระดับสูงของรัฐ ศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ หรือทหาร ผู้ดำรง
                                                ตำแหน่งระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้มีบทบาท

                                                สำคัญในพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือเคยดำรงตำแหน่ง
                                                ดังกล่าวในองค์การระหว่างประเทศ และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับ
                                                ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่เลขาธิการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ
                                                คณะกรรมการ

                  แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่
                           การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15