Page 15 - Prevention_and_Suppression_of_Money_Laundering_Handbook
P. 15

ู
                                                                           ข้ อ ม ล   ข้ อ ก ำ ห น ด ทั่ ว ไ ป  | 7

                                         2)  กรณีพบว่าลูกค้าไม่ยินยอมให้ข้อมูล
                                         3)  กรณีพบว่าลูกค้าให้ข้อมูลเท็จ

                                         4)  กรณีพบว่าลูกค้ามีข้อมูลเกี่ยวข้อง หรือตรงกันกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
                                         5)  วิธีปฏิเสธลูกค้า
                                         6)  วิธีขอขยายระยะเวลาในการอนุมัติรับลูกค้า

                                     (3)  วิธีการใช้ดุลยพินิจในกรณีต่าง ๆ เช่น
                                         1)  กรณีพบว่าลูกค้าผ่านขั้นตอนการระบุตัวตนมาแล้ว แต่ข้อมูลไม่เพียงพอ
                                             จะสามารถกำหนดความเสี่ยงที่ชัดเจนได้
                                         2)  กรณีพบว่าลูกค้าเป็นบุคคลที่สำนักงาน ปปง. แจ้งให้รายงานเป็นธุรกรรมที่มี
                                             เหตุอันควรสงสัย ถ้ามีการขอสร้างความสัมพันธ์

                                         3)  กรณีพบว่าลูกค้ามีความเสี่ยงสูง ต้องขออนุมัติผู้บริหารอย่างไร
                                         4)  กรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อกำหนดความเสี่ยงของลูกค้า
                              2.1.2  การกำหนดปัจจัยที่ทำให้การอนุมัติรับสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้องได้รับการ

                                     พิจารณาเป็นพิเศษหรือมีขั้นตอนอนุมัติที่เข้มข้นมากขึ้น ได้แก  ่
                                     (1)  กรณีที่ลูกค้ามีความเสี่ยงสูง (ดูมาตรการบริหารความเสี่ยง)
                                     (2)  กรณีที่ลูกค้าขอสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจในบริการหรือผลิตภัณฑ์ประกันภัย
                                         ที่มีวงเงินสูง กำหนดระดับบุคลากรที่มีอำนาจพิจารณาหรืออนุมัติสร้าง

                                         ความสัมพันธ์ อาจได้แก่
                                         1)  กรณีอนุมัติสร้างความสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้บุคลากรระดับปกติตาม
                                             ที่กำหนดไว้ในระเบียบบริษัทเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสร้างความสัมพันธ์
                                         2)  กรณีอนุมัติสร้างความสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่ต้องได้รับการพิจารณา

                                             เป็นพิเศษ หรือต้องมีขั้นตอนอนุมัติที่เข้มข้นมากขึ้น ให้บุคลากรระดับสูงกว่า
                                             ปกติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทที่มีอำนาจในการอนุมัติเป็น
                                             ผู้พิจารณาเพื่ออนุมัติ
                         2.2  นโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน

                              หมายถึง การกำหนดหลักเกณฑ์ ปัจจัย เพื่อใช้บริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินของบริษัท
                              ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
                              2.2.1  การบริหารความเสี่ยงองค์กร ด้าน

                                     (1)  ผลิตภัณฑ์ประกันภัย การบริการ ช่องทางการให้บริการและอื่น ๆ
                                     (2)  การจัดการบริหารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ประกันภัย การบริการ ช่องทางการ
                                         ให้บริการใหม่ ๆ
                                     (3)  กระบวนการตรวจสอบภายในที่มีคุณภาพ
                                     (4)  กระบวนการรักษาความลับของข้อมูล

                              2.2.2  การบริหารความเสี่ยงลูกค้า
                                     (1)  การกำหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยความเสี่ยง เพื่อใช้จัดระดับความเสี่ยงของลูกค้า
                                         โดยพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับ

                                         1)  ปัจจัยเฉพาะตัวของลูกค้า
                                         2)  ปัจจัยเกี่ยวกับโครงสร้างตัวลูกค้า
                                         3)  ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิศาสตร์/พื้นที่


                                          คณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ ประจำปี 2566-2568
                                                        ตุลาคม 2567
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20