Page 65 - InsuranceHandbook
P. 65
46 คู่มือประกันวินาศภัยไทย
Thai General Insurance Handbook
1.2 ส่วนได้เสียกรณีประกันวนาศภัย
ิ
ถ้าหากในระหว่างสญญาประกันภัยมีผลบังคับ การเสี่ยงภัยได้หมดไปหรือวัตถุที่เอาประกันภัยหมดไปหรือ
ั
ื่
ได้มีการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยไปให้ผู้อนแล้ว ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั้นก็จะหมดไปด้วย ซึ่งจะทำให้
สัญญาประกันภัยนั้นไม่มีผลผูกพันกับผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั้นต่อไป
ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยนี้จะต้องเป็นส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณชย มาตรา 869 บัญญัติว่า “อนคำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสยหาย
ิ
์
ี
ั
ั
็
อย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเปนเงินได้” และตามพระราชบัญญัติประกนวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ให้
่
ความหมายของ “วินาศภัย” ว่า “ความเสียหายอยางใด ๆ บรรดาซึ่งจะพงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความ
ึ
รวมถึงความสูญเสียในสิทธิ์ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย” เพราะฉะนั้น ส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ในเรื่องของ
การประกันวินาศภัยจึงมี 2 ลักษณะ คือ
1. ผู้เอาประกันภัยมีความสัมพนธ์อยู่กับทรัพย์ สิทธิ์ ผลประโยชนหรือรายได้ ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่ง
์
ั
อย่างใดเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายหรือต้องรับผิด
2. ความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับจะต้องประมาณเป็นเงินได้
้
ั
ิ
็
คำว่าส่วนได้เสียที่อาจเอาประกนภัยได หมายถึง ส่วนได้เสียที่สามารถคำนวณหรือประเมนเปนราคา หรือ
่
่
ี
ั
้
่
่
ิ
ิ
้
เงินได้ ความเสียหายใดทไมสามารถคำนวณหรือประเมนเป็นเงนไดก็ไมสามารถเอาประกนวินาศภัยได แตอาจจะ
เป็นเรื่องของการประกันชีวิตได้
1.3 ความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับทรัพย์ สิทธิ์ ผลประโยชน์ หรือรายได้ใด ๆ ที่จะเอาประกันภัย
ความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับทรัพย์ สิทธิ์ ผลประโยชน์ หรือรายได้ใด ๆ ที่จะเอาประกันภัยสามารถ
แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
1.3.1 เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้รับจำนอง ผู้รับฝากทรัพย์ ผู้เช่า ผู้ดูแล หรือผู้พิทักษ์ทรัพย์
ย่อมมีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน การเป็นเจ้าของย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และ
่
เจ้าของยอมได้รับความเสียหายหรือสูญเสียผลประโยชน์ ถ้าทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหายหรือ
สูญหาย การแสดงความเป็นเจ้าของนั้นไม่จำเป็นต้องเปนเจาของแต่เพยงผู้เดียว อาจเป็นเจ้าของร่วมหรือ
ี
็
้
เป็นเจ้าของบางส่วนก็ได้
นอกจากนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ตนยึดถือไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการ
้
้
ชำระหนี้ เช่น ผู้รับจำนำ ผู้รับจำนอง เป็นต้น ตัวอย่าง นาย ก. ไปขอกเงินจากธนาคารจำนวน 2 ลานบาท โดย
ู
ั
นำเอาบ้านของตนไปจำนองไว้กบธนาคาร ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้เกรงว่าจะเกิดไฟไหม้บ้านที่รับจำนองไว้ จึงมสิทธิ์
ี
้
ที่จะกำหนดให้ นาย ก. ตองเอาประกันอัคคีภัยโดยระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับประโยชน์ตามภาระผูกพน ถ้าเกิดไฟไหม้
ั
บ้านหลังดังกลาว ผู้รับประกนภัยจะต้องจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนใหแกธนาคารตามมูลหนี้ที่ นาย ก. ยงคางชำระ
้
่
้
่
ั
ั
ธนาคารอยู่
1.3.2 ผู้มีสิทธิ์ตามสัญญา
สัญญาในที่นี้หมายถึงข้อผูกพนที่ได้ทำการตกลงกันเฉพาะกรณีและมีผลบังคับกับคู่สัญญา เป็นสิทธิ์ที่
ั
ี
่
ื
เรียกร้องให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งต้องกระทำหรอจายเงินชดใช้ความเสยหายถ้ามีเหตุให้ทรัพย์นั้นต้องเสียหายหรือ
่
สูญหายเกิดขึ้น ซงมักเกิดในกรณีของการประกนวินาศภัย เช่น เจาของอาคารในฐานะผู้ให้เช่าทำสัญญากับผู้เช่า
ั
้
ึ
้
อาคาร โดยกำหนดให้ผู้เช่าอาคารรับผิดชอบค่าเสียหายถ้าหากเกิดไฟไหมอาคารนั้น ผู้เช่าอาคารย่อมมีส่วนได้เสียใน
การทำประกันอัคคีภัยอาคารที่เช่านั้น
ิ
ิ
้
ํ
ลขสทธของสมาคมประกนวนาศภยไทย หามนาไปใช้ในการแสวงหากําไรทางการคา ้
ิ
ั
ั
์
ิ